List of content

มาตรการ QE คืออะไร ส่งผลต่อตลาด Forex อย่างไร?


มาตรการ QE คืออะไร ส่งผลต่อตลาด Forex อย่างไร?

กลายเป็นคำถามที่ได้รับความสนใจในวงกว้าง สำหรับแวดวงการลงทุนในหลายตลาดทั่วโลก สำหรับสื่อกระแสหลักมีการรายงานกันอย่างต่อเนื่องว่า มาตรการ QE เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสภาวะเงินเฟ้อ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้นจนน่าตกใจ

ผู้คนจำนวนมากจึงกล่าวโทษ QE ว่าทำให้ค่าครองชีพของประชาชนสูงขึ้น แต่จริงๆแล้ว QE คืออะไร แล้วส่งผลต่อตลาด Forex อย่างไรไปดูคำตอบกันเลยครับ

QE คืออะไร?

QE  หรือ Quantitative Easing คือ มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือที่เรียกว่า "นโยบายทางการเงิน" ที่ธนาคารกลางใช้ในการจัดการเศรษฐกิจในภาพรวมให้มีเสถียรภาพ โดยในกรณีมาตรการ QE นั้นจะเป็นเครื่องมือรักษาเสถียรภาพเมื่อเศรษฐกิจเกิดการชะลอตัว ซบเซา หรือพูดอีกอย่าง คือเราใช้มาตรการ QE เพื่อแก้ปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำนั่นเองครับ

QE ทำงานอย่างไร?

มาตรการ QE นั้น คือการที่ธนาคารกลางเข้าไปซื้อ "สินทรัพย์ทางการเงิน" ในปริมาณมหาศาลจากผู้ถือครองสินทรัพย์ดังกล่าว โดยเน้นไปที่กลุ่ม "ตราสารหนี้" เนื่องจากจะส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยของตลาดโดยตรง โดยจะเข้าไปซื้อจากกลุ่มสถาบันการเงินและการธนาคาร บริษัทประกันภัย และกองทุนรวม หรือกองทุนเพื่อการเกษียณอายุต่าง ๆ

ตราสารนี้ส่วนใหญ่จะเป็น "พันธบัตรรัฐบาล" เนื่องจากมีมูลค่าตลาดมหาศาล ทำให้ธนาคารกลางสามารถเข้าซื้อครั้งละจำนวนมาก ๆ อย่างกรณีล่าสุดในปี 2021 ที่ธนาคารกลางสหรัฐ ทำ QE ด้วยการซื้อพันธบัตรเดือนละ 80 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ทั้งนี้ จะมีการเข้าซื้อตราสารหนี้ประเภทอื่น ๆ ด้วย เช่น หุ้นกู้ของบริษัทมหาชนขนาดใหญ่ รวมถึงตราสารที่มีการผูกเข้ากับสินเชื่อบางประเภท เช่น MBS หรือของ Mortgage-backed security เป็นตราสารหนี้ที่มีการผูกกับ "สินเชื่อ" อยู่อีกทอดหนึ่ง เช่น สินเชื่อที่ใช้บ้านเป็นหลักประกันในการจำนอง ซึ่ง MBS ประเภทนี้มีมูลค่าตลาดที่ใหญ่มาก (แน่นอนว่าเป็นเพราะคนกู้ซื้อบ้านเยอะมาก) ทำให้การทำ QE ด้วยการซื้อ MBS ของธนาคารกลางเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ในการพยายามแทรกแซงอัตราดอกเบี้ยของตลาด

เมื่อคนไม่มั่นใจในระบบเศรษฐกิจ การใช้จ่ายของบุคคลและภาคธุรกิจในภาพรวมจะลดลง "การหมุนเวียนของปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจจะเริ่มมีปัญหา" ความต้องการใช้สินค้าและบริการจะลดลง ธุรกิจจากที่เคยขยายตัวก็จะค่อย ๆ ชะลอตัวลง ซึ่งสามารถนำไปสู่การลดปริมาณการผลิตและลดจำนวนแรงงานลง

จะเห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างถูกเชื่อมโยงกันเป็นห่วงโซ่ทางเศรษฐกิจ และเมื่อใดที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับ "การหมุนเวียนของปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ"

มันจะค่อย ๆ ส่งผลต่อหน่วยอื่น ๆ ในระบบเศรษฐกิจ โดยเราอาจสรุปผลลัพธ์ที่สำคัญ ๆ ได้ดังนี้

1. อัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น

3. รายได้ของคนในครอบครัว (ภาคครัวเรือน) ลดน้อยลง

3. มีการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจน้อยลง

QE จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในสภาวะแบบนี้ ย้ำอีกครั้งว่า "นโยบาย QE" มีผลกระทบต่อปริมาณเงินในระบบ โดยมันจะกระตุ้นการหมุนเวียนของปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ และส่งผลในเชิงจิตวิทยาทางเศรษฐกิจด้วย เพราะหากธุรกิจเริ่มใช้จ่าย คนเริ่มรู้สึกว่า "รัฐกำลังอัดเงิน" มีเงินไหลเวียนเยอะ คนจะกล้าใช้จ่าย และทำให้เงินมีการไหลเวียนมากขึ้นจริง ๆ ตามที่รู้สึก

QE ป้องกันการ Panic ของประชาชนได้

ตัวอย่างข้างต้นเป็นกรณีของ "ผู้ที่ใช้จ่ายในระบบ" ทั้งตัวบุคคลและธุรกิจ ซึ่งในระบบทุนนิยมครองโลกที่มีธนาคารเป็นใหญ่ คนเหล่านั้นมีสถานะเป็น "ผู้กู้" ในระบบนั่นเอง แต่จะเกิดอะไรขึ้น หากฝั่งของธนาคารเอง ก็รู้สึกไม่ปลอดภัยเช่นกันที่จะ "ปล่อยสินเชื่อ" แน่นอนว่าการไหลเวียนของเงินในเศรษฐกิจจะลดลงเช่นกัน

ซึ่งสถาบันการเงินอาจมีความกังวลในเรื่องนี้ เนื่องจากมีลูกค้าจำนวนมากที่กู้ยืมเงินไปแล้ว แต่ไม่สามารถชำระเงินกู้คืนได้ ซึ่งถ้าหากมีจำนวนมาก ๆ สถาบันการเงินก็มีความเสี่ยงที่จะล้มละลายได้เช่นกัน และกรณีแบบนี้ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วครับ กับ Lehman Brothers

และจิตวิทยาทางเศรษฐกิจจะทำงาน สถานการณ์จะรุนแรงขึ้นหากผู้คนเริ่มกังวลเกี่ยวกับสภาพคล่องของธนาคาร จนพร้อมใจกันไปถอนเงินออกจากธนาคาร สุดท้าย ธนาคารสามารถล้มละลายได้จากการขาดสภาพคล่องอย่างกระทันหัน ซึ่งจะส่งผลเสียต่อหน่วยเศรษฐกิจอื่น ๆ ต่อไปครับ

ดังนั้น QE จะเข้ามามีบทบาทต่อสถานการณ์ดังกล่าว ซึ่งอาการ "ตื่นตะหนก" หรือ Panic ของประชาชนจะลดลงได้ ถ้าทุกคนเริ่มรู้สึกได้อีกครั้งว่าการไหลเวียนของปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจยังดีอยู่ ธนาคารก็จะไม่เสี่ยงที่จะโดนแห่ถอนการเงิน ระบบเศรษฐกิจก็จะผ่านวิกฤตไปได้ด้วยผลของ QE นั่นเอง

สรุปแล้วก็คือ QE จะส่งผลต่อกลไกเศรษฐกิจที่จับต้องได้จริง ๆ รวมถึงส่งผลทางจิตวิทยาต่อประชาชนให้ยังมีความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้ เม็ดเงินส่วนเกินจากการทำ QE ก็มักไหลเข้าไปสู่สินทรัพย์เสี่ยงโดยเฉพาะตลาดหุ้นครับ

 

QE

QE ส่งผลต่อค่าเงิน Forex อย่างไร ?

มาตรการ QE มักจะให้ผลลัพธ์ที่น่าสังเกตได้ 2 ประการ ในตลาด Forex ดังนี้ คือ

1. ค่าเงินอ่อนค่าลงทันที

นั่นคืออัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะต่ำลง และมักจะร่วงลงอย่างรุนแรง และดึงอัตราดอกเบี้ยลดลงมาด้วย

ผลที่ตามคืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในระบบจะลดลง ซึ่งการที่ดอกเบี้ยพันธบัตรลดลงนั้น เกี่ยวข้องกับการอ่อนของค่าเงินครับ

2. เงินมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจ

นั้นหมายความว่า เงินถูกผลิตเพิ่มเข้ามา และเกิดสภาพคล่องในการจ่ายของภาคธุรกิจ ส่งผลในอนาคตจะเกิดภาวะเงินเฟ้อในระยะต่อไป ซึ่งหมายความว่า เมื่อมีเงินในปริมาณที่มากขึ้น สินค้าแพงขึ้น และทำให้ค่าเงินอ่อนลงครับ 

อย่างไรก็ตาม เมื่อผ่านไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง ราคาจะย้อนกลับมาที่เดิม ยังมีมาตราการทางการเงิน รวมไปถึงนโยบายทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน นักลงทุนในตลาด Forex หรือเทรดเดอร์ทุกท่านก็จำเป็นที่จะต้องติดตามความข่าวสารความรู้ไว้อยู่เสมอ เพื่อสร้างโอกาสในการทำกำไรให้กับท่าน และได้มีความเข้าใจกับเรื่องเศรษฐกิจมากขึ้นอีกด้วยครับ

บทความแนะนำ

มาตรการ QE คืออะไร? ส่งผลต่อตลาด Forex อย่างไร?

เราควรเทรด Forex ด้วยทุนเท่าเดิมหรือเทรดแบบเพิ่มทุน ?

Bond Yield คืออะไร? สำคัญกับนักเทรด Forex อย่างไร ?

 

----------------------------------------------------------------------------------

สามารถศึกษาความรู้เพิ่มเติมได้จากแหล่ง ดังต่อไปนี้ 

อ่านรีวิวโบรกเกอร์ยอดนิยมที่น่าใช้ : คลิกที่นี่

อ่านรีวิวโบรกเกอร์ที่ควรระวัง : คลิกที่นี่

อ่านบทความเพิ่มเติม : FXBROKERSCAM