เมื่อเข้ามาสู่โลกการลงทุน คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักชื่อเสียงอันโด่งดังทั่วโลกของเขา วันนี้เราจะพามาทำความรู้กับ Ray Dailo ผู้จัดการกองทุนที่สร้างผลตอบแทนสูงที่สุดในโลก ว่ามีหลักการสู่ความสำเร็จอย่างไร ไปดูพร้อมๆกันเลยครับ
Ray Dalio คือใคร ?
Ray Dalio หรือ เรย์ ดาลิโอ เป็นผู้ก่อตั้งและผู้จัดการกองทุน Bridgewater Associates ซึ่งเป็นกองทุนเฮดจ์- ฟันด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปี 1975
เรย์ ดาลิโอ นับว่าเป็นผู้จัดการกองทุนเฮดฟันด์ที่สร้างผลตอบแทนสูงที่สุดของโลก ปี 2016 และครองแชมป์ที่ 1 มาหลายสมัย และปัจจุบันมียอดผลตอบแทนรวมตั้งแต่สมัยก่อตั้ง Bridgewater มีประมาณ 49.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเฉพาะปี 2016 ปีเดียว Bridgewater สามารถระดมเงินจากลูกค้าได้ประมาณ 4.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
แนวคิดการลงทุนของเรย์นั้น เขาได้มาจากหนังสือพิมพ์เก่า ๆ อย่าง ข่าวสมัยวิกฤตเศรษฐกิจ Great Depression ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นปีที่ทำให้เกิด Stock Market Crash ในเดือนตุลาคม ปี 1929 ซึ่งในช่วงนั้น มีประเด็นที่น่าสนใจหลายอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนจากการเปิดเสรีทางการเงิน การล้มละลายของภาคเกษตร หรือเศรษฐกิจเกิดการถดถอย เกิดการว่างงานอย่างยาวนาน เป็นต้น
เขามีความเป็นรู้อย่างยอดเยี่ยมเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ในเชิงปฏิบัติ (practical understanding of economics) ซึ่งเป็นความแตกต่างเฉพาะตัว จนทำให้เกิดเป็นที่มาของแนวคิด “How the Economic Machine Works” โดยเขามองเศรษฐกิจเป็นเหมือนกับเครื่องจักรโดยใช้หลักการของเศรษฐศาสตร์มหภาคมาจับ แต่ทว่าการถ่ายทอดนั้นกลายเป็นไล่มุมคนละแบบกับตำราทางเศรษฐศาสตร์หรือการเงินที่หลาย ๆ คนเคยเรียนมา เพราะ โดยทั่วไป เมื่อพูดว่าเศรษฐศาสตร์ หลายคนจะคิดว่ามันเป็นภาพแบบ Top-down
แต่สำหรับเรย์ มันกลับเป็นภาพแบบ bottom-up ที่เน้นในเรื่องของการใช้จ่ายส่วนบุคคลก่อน (Individual Transactions) เนื่องจากว่า นั่นเป็นจุดที่ทำให้เข้าใจ demand อย่างแท้จริง เนื่องจากทุก ๆ การเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมในด้านเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงของราคาในตลาดการเงิน ล้วนมีต้นเหตุมาจากเงิน (money) และเครดิต (credit)
กลยุทธ์การลงทุนของ Ray Dalio
วิธีการของเขาคือการเรียนรู้ระบบเบื้องหลังตลาดที่เกี่ยวข้องกัน โดยกลยุทธ์ที่เรย์ใช้เรียกว่า “Pure Alpha strategy” คือการกระจายการลงทุนใน asset classes ที่แตกต่างกัน และลงทุนในตลาดที่มีสภาพแวดล้อมแตกต่างกันด้วย หลังจากที่ได้แนวคิดและหลักการเลือกจากปัจจัยความแตกต่างหลัก 2 อย่างแล้ว เขายังมีใช้ quant models ในการเข้ามาคำนวณและคาดการณ์อัตราผลตอบแทนด้วย และเขาอธิบายเพิ่มเติมว่า มีแค่ 4 ปัจจัยเท่านั้นที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์การเงินต่างๆ ได้แก่
เงินเฟ้อ (Inflation)
เงินฝืด (Deflation)
การขยายตัวของเศรษฐกิจ (Rising economic growth)
การหดตัวของเศรษฐกิจ (Declining economic growth)
ไม่ว่าใครก็ต้องเคยล้มเหลวและมีข้อผิดพลาดมาก่อน
ส่วนสำคัญของหลักการกลยุทธ์เหล่านั้น คือ‘ข้อผิดพลาด’เพราะนั่นคือโอกาสในการเรียนรู้ ปรับปรุงและเป็นบทเรียน
ครั้งหนึ่งในชีวิตการลงทุนของเรย์ ก็เคยเกิดการผิดพลาดในการลงทุนในช่วงปี 1982 ที่เขามั่นใจอย่างมากว่าเศรษฐกิจของสหรัฐกำลังจะพังและตลาดหุ้นจะร่วงลงอย่างหนัก แต่ความเป็นจริงแล้วกลับตรงกันข้ามกับสิ่งที่เขาเคยประกาศออกมาต่อสาธารณะด้วยความมั่นใจ ณ ตอนนั้น เศรษฐกิจของอเมริกาเติบโตเร็วที่สุดต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งทำให้บริษัทของเขาเกือบพังไม่เป็นท่า และแทบจะหมดตัว พนักงานของบริษัทเหลือแค่เพียงคนเดียวคือตัวเขาเอง แต่อย่างไรก็ตามเขาก็สามารถรอดพ้นมาได้จากเหตุการณ์ครั้งนั้น
แม้จะฟังดูเรียบง่าย แต่ในยุคที่ไม่ว่าเราจะมองไปทางไหนก็เจอแต่ภาพคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต คงจะมีไม่มากนักที่จะโฟกัสไปที่ความล้มเหลว โดยเฉพาะความล้มเหลวของตัวเราเอง แต่นั่นก็คือสิ่งที่เรย์ทำมาตลอดอายุ 40 ปี ของเขาและกลายมาเป็นตำนานของนักลงทุนคนหนึ่งในทุกวันนี้ครับ