เหตุผลที่ค่า Spread ไม่เท่ากัน
ตลาด Forex คือตลาดแรกเปลี่ยนเงินต่างระหว่างประเทศที่ใหญ่มากๆ มูลค้าการซื้อขายระหว่างวันสูงถึง 200 ล้านล้านดอลลาร์ต่อวัน ข้อมุลในปี 2013 (BIS (2013 )) ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่มากๆ หลายๆคนอาจจะรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะการแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศ ไม่ได้มีแค่การเทรดผ่านกราฟหรือเก็งกำไร แต่รวมไปถึงการนำเข้าส่งออกด้วย เพราะถ้าเราต้องซื้อขายสินค้าต่างประเทศแล้วหล่ะก็ เราจำเป็นต้องแลกเงินเราเป็นเงินต่างของประเทศนั้นๆด้วย
พูดถึงการเทรด (Trade) ค่าเงินต่างประเทศ ตอนนี้ในหลายๆประเทศกำลังให้ความสนใจกับการเก็งกำไรในตลาดนี้ เพราะเป็นตลาดที่มีกำลังทด (Leverage) ให้แก่เทรดเดอร์ที่มีทุนไม่มากก็สามารถทำกำไรมหาศาลได้ โดยการกำลังทดที่ว่าก็มาจาก โบรกเกอร์หรือนายหน้า (Broker) ที่ทำหน้ารับส่งคำสั่งซื้อขายของเราเข้าสู่ตลาดหรือส่งให้ผู้ให้บริการสภาพคล่อง (Liquidity Provider)
รายได้ของโบรกเกอร์มาจากส่วนต่าง (Spread) ของการซื้อขายของเรายิ่งถ้าเราทำการซื้อขายมากเท่าไหร่ โบรกเกอร์ก็จะมีรายสูงไปเท่านั้น Spread ก็คือส่วนต่างระหว่างราคาเสนอซื้อ(Bid) และ ราคาเสนอขาย(Ask) โดยค่าสเปรดจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น ความผันผวน ความนิยม สภาพคล่อง และอื่นๆ นอกจากนี้โบรกเกอร์สามารถเพิ่ม/ลดค่า Spread ได้อีกด้วย Tinic (1972) เขาได้ทำการศึกษาและจำแนกองค์ประกอบของค่า Spread ออกมาเป็น 3 หมวดหมู่ดังนี้
1.Order processing costs (OPC)
Order processing costs หรือ ต้นทุนการดำเนินการซื้อขาย หมวดหมู่นี้เป็นครั้งแรกที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายทั่วไปของการให้บริการของโบรกเกอร์ไม่ว่าจะเป็นการนำฟีคราคามาแสดง การให้บริการแพตฟอร์มซื้อขาย การทำการตลาด ค่า Spread ส่วนนี้จึงเป็นต้นทุนที่ทางโบรกเกอร์สามารถกำหนดเองได้ ถ้าโบรกเกอร์ที่มีการลงทุนสูงๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบซื้อขายหรือการตลาด ก็จะมีค่า Spread ในส่วนนี้สูง
2. Inventory holding costs (IHC)
Inventory holding costs หรือ ต้นทุนการถือครองสินค้าคงคลัง อธิบายง่ายๆคือ เป็นค่า Spread ที่เกิดจากผู้ให้บริการสภาพคล่อง (Liquidity Provider) ที่โบรกเกอร์จะนำคำสั่งซื้อขายส่งให้ผู้บริการเหล่านี้ ดังนั้นค่า Spread ส่วนนี้จะมาจากผู้ให้บริการสภาพคล่อง เราจะสังเกตได้ว่าค่า Spread ทำไมในแต่ละคู่เงินหรือสินค้าต่างๆไม่เท่ากัน ก็เกิดจากผู้ให้บริการสภาพคล่องไม่อยากที่จะรับคำสั่งซื้อขายนั้นๆ เนื่องจากความผันผวนหรืออะไรก็ตาม ทางผู้ให้บริการสภาพคล่องจึงต้องเพิ่มค่า Spread ให้สูงขึ้น เพื่อไม่ที่จะปรับสมดุลความเสี่ยงของราคา อย่างไรก็ตามในส่วนนี้จะมีผลต่อสินค้าโภคภัณฑ์ ไม่ค่อยมีผลกับ Forex มากนัก แต่ก็สามารถสังเกตได้จากคู่เงินหลักที่มี Spread แค่ 10-15 จุด แต่คู่เงินรอง ที่มีค่า Spread สูงมากกว่า 20 จุด
3. Adverse selection costs (ASC)
Adverse selection costs หรือ ค่าใช้จ่ายในการเลือกที่ไม่พึงประสงค์ ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆเลยคือ ค่า Spread ที่ทางโบรกเกอร์บวกกับเราเพิ่มนั้นเอง ซึ่งก็ถือว่าเป็นกำไรของโบรกเกอร์ โบรกเกอร์ที่มีค่าใช้จ่ายสูงในการทำการตลาดหรือทำเครือค่าย (Partner) ก็จะมีค่า Spread ที่สูงตามกันไป เราจึงจะเห็นได้ว่าโบรกเกอร์ที่ไม่ค่อยทำการตลาดจะมี Spread ต่ำ อย่างเช่นโบรกเกอร์ Pepperstone , IUX Market, IC Markets เป็นต้น
มาถึงจุดนี้แล้ว ทุกคนคงจะเข้าใจใช่ไหมครับว่าทำไมค่า Spread ของแต่ละโบรกเกอร์หรือคู่เงินไม่เท่ากัน การเลือกโบรกเกอร์ที่เราได้รับผลประโยนช์มากที่สุดกับตัวเองยอมดีที่สุด
ตรวจสอบโบรกเกอร์และอ่านรีวิวโบรกเกอร์ได้ที่ www.Fxbrokerscam.com