1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาทองคำ คือ นโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ย
การที่มีการปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้น แสดงว่าเศรษฐกิจเริ่มดี ความเชื่อมั่นเริ่มกลับมามากขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์จะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น แต่สวนทางกับราคาทองคำที่จะปรับราคาลง และในทางตรงกันข้ามหากปรับดอกเบี้ยนโยบายลง แสดงว่าเศรษฐกิจเริ่มไม่ดี ค่าเงินดอลลาร์จะปรับตัวลดลง ส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้น
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาทองคำ คือ ราคาน้ำมัน
ราคาน้ำมันถือว่าแทบจะขึ้นลงตามทองคำ เพราะเมื่อน้ำมันราคาขึ้นทองคำก็จะขึ้นด้วย อันเนื่องมาจาก น้ำมันก็เป็นอีกตัวที่สะท้อนถึง ภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง
3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาทองคำ คือ ค่าเงินดอลลาร์
ค่าเงินดอลลาร์จะความผกผันกับราคาทอง การที่ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า ส่งผลดีกับราคาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ที่สามารถเก็บมูลค่าทำให้กระแสเงินของแต่ละประเทศ ไหลเข้าสู่ทองคำ ส่งผลให้ทองคำ มีราคาเพิ่มสูงขึ้น และในทางตรงกันข้ามหากเงินดอลลาร์แข็งค่าก็จะส่งผลต่อราคาทองโดยนักลงทุน จะหันมาใช้จ่ายหรือลงทุนในสกุลเงินดอลลาร์แทน ส่งผลให้ราคาทองคำลดลง
4. ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาทองคำ คือ Demand Supply
อุปสงค์ (Demand) คือ ความต้องการใช้ทองคำนั้น ส่วนใหญ่มาจาก 3 กลุ่มหลัก ได้แก่
- ภาคเครื่องประดับ
- ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการแพทย์
- ภาคการลงทุน
รวมไปถึงการที่ภาครัฐของประเทศต่างๆ มีการนำทุนสำรองไปซื้อทองคำมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการกระจุกตัวอยู่ในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เช่น จีน อินเดีย ที่มีเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว
ถ้าหากมีความต้องการซื้อทองคำสูง จะส่งผลให้ราคาทองสูงขึ้นด้วย ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีความต้องการซื้อทองต่ำ ราคาทองก็จะลดต่ำลงเช่นกัน
อุปทาน (Supply) คือ ความต้องการขายทองคำส่วนใหญ่มาจาก 3 กลุ่มหลัก ได้แก่
- ผลผลิตทองคำจากเหมืองทอง
- แรงขายจากธนาคารกลางประเทศต่างๆ
- ปริมาณทองคำเก่าที่หมุนเวียนอยู่ในระบบ
ถ้าหากมีความต้องการขายทองคำสูง ราคาทองจะลดต่ำลง แต่ถ้าหากมีความต้องการขายต่ำ ราคาทองก็จะสูงขึ้น ตามหลัก Demand – Supply นั่นเอง