List of content

5 กลยุทธ์วางแผนการลงทุน เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง!


5 กลยุทธ์วางแผนการลงทุน เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง!

บ่อยครั้งที่นักลงทุนมักได้ยินคำว่า การลงทุนมีความเสี่ยง นักลงทุนควรเตรียมรับมือให้ดีก่อนตัดสินลงทุน แต่ทราบหรือไม่ว่า ทำไมความเสี่ยงในการลงทุนถึงมีความสำคัญ หากจะพูดให้เห็นภาพง่าย ๆ ในชีวิตของเรานั้น ความเสี่ยงสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนแบบแผนในการดำเนินชีวิต, การเปลี่ยนงาน, การเดินทางบนท้องถนน ตลอดจนการลงทุนในกิจการต่าง ๆ เป็นต้น โดยความเสี่ยงการลงทุนนี้อาจจะฟังดูน่ากลัวสำหรับใครหลาย ๆ คน แต่แท้จริงแล้วความเสี่ยงก็ช่วยให้เราสามารถต่อยอดเงินทุนให้เจริญงอกเงยในอนาคตได้

ในปัจจุบันทางเลือกในการลงทุนนั้นมีหลากหลายแนวทาง โดยมีระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่แตกต่างกัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับเป้าหมายชีวิตของแต่ละคน ในวันนี้ทางทีมงาน FXbrokerscam จะพาคุณมารู้จักกับ 5 กลยุทธ์วางแผนการลงทุน เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง!เพื่อให้ทุกท่านสามารถเรียนรู้เรื่องการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนได้ดียิ่งขึ้น จะมีอะไรบ้างนั้น? ไปหาคำตอบกันครับ

 

การลงทุนมีความเสี่ยง หมายถึงอะไร?

การลงทุนมีความเสี่ยง

การลงทุนมีความเสี่ยง คือ ความเสี่ยงหรือความไม่แน่นอนที่นักลงทุนจะไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดหวังไว้ตามระยะเวลาที่กำหนด โดยความเสี่ยงนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ประเภท ดังต่อไปนี้

1. ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk)

ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk) คือ ความเสี่ยงที่ไม่สามารถซื้อขายสินทรัพย์ในจำนวนที่ต้องการลงทุนได้ ยกตัวอย่างเช่น อสังหาริมทรัพย์หรือเงินฝากประจำที่มักมีโอกาสเกิดความเสี่ยงทางสภาพคล่องได้มากกว่าเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป 

2. ความเสี่ยงด้านดอกเบี้ย (Interest Risk)

ความเสี่ยงด้านดอกเบี้ย (Interest Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากอัตราดอกเบี้ยในตลาดมีการปรับเปลี่ยน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาสินทรัพย์บางประเภท เป็นเหตุให้อัตราผลตอบแทนของการลงทุนได้รับผลกระทบตามไปด้วย

3. ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk)

ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) คือ ความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการที่บริษัทหรือกิจการนั้น ๆ ไม่สามารถชำระหนี้ที่ได้รับจากการลงทุนหรือการให้สินเชื่อ

อีกทั้งความเสี่ยงด้านเครดิตยังรวมถึงการลงทุนสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับเครดิตต่าง ๆ เช่น การลงทุนในสัญญาตราสารหนี้ หากผู้ออกตราสารเกิดสถานะล้มละลายจะส่งผลให้นักลงทุนไม่ได้รับผลตอบแทนและอัตราดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่กำหนดไว้

4. ความเสี่ยงด้านราคา (Price Risk)

ความเสี่ยงด้านราคา (Price Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากราคาในตลาดมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางขึ้นหรือลดลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อมูลค่าของการลงทุนหรือสินทรัพย์ของนักลงทุน

5. ความเสี่ยงจากการผิดสัญญา (Default Risk)

ความเสี่ยงจากการผิดสัญญา (Default Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสัญญา โดยที่ผู้กู้เงินไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาที่ให้ไว้กับผู้ให้กู้ตามจำนวนหรือระยะเวลาที่กำหนด เป็นเหตุให้เกิดการผิดชำระหนี้

ยกตัวอย่างเช่น คุณมีการซื้อหุ้นกู้บนตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยคุณจะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้วนั้น คุณจะรับดอกเบี้ยและเงินต้นคืน แต่หากว่าบริษัทที่คุณซื้อหุ้นกู้นั้น เกิดการผิดนัดชำระหนี้ นั่นแสดงให้เห็นว่า ความเสี่ยงจากการลงทุนที่คุณเผชิญในลักษณะนี้ คือ Default Risk หรือการโดนเบี้ยวหนี้นั่นเอง

6. ความเสี่ยงด้านตลาด (Market Risk)

ความเสี่ยงด้านตลาด (Market Risk) คือ ความเสี่ยงที่ผกผันไปตามการเปลี่ยนแปลงของสภาวะตลาดโดยรวม ซึ่งมักจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจในประเทศนั้น ๆ ส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ปรับตัวขึ้นลงตามไปด้วย

7. ความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ (Inflation Risk)

ความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ (Inflation Risk) คือ ความเสี่ยงโดยที่เงินเฟ้อมีภาวะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เงินสดในมือมีมูลค่าลดลง ทำให้การลงทุนในสินทรัพย์บางประเภทมีผลตอบแทนลดลงยกตัวอย่างเช่น การลงทุนในตราสารหนี้ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นเรื่อย ๆ จะส่งผลให้นักลงทุนได้อัตราผลตอบแทนที่ลดลง เมื่อสัญญาครบกำหนด

 

ทำไมถึงต้องลงทุน? 

จากที่กล่าวไปข้างต้น เห็นได้ว่า การลงทุนมีความเสี่ยงอยู่มาก ซึ่งล้วนเกิดจากปัจจัยที่เราควบคุมไม่ได้ เช่น ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย (Interest Risk) หรือความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ (Inflation Risk) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม นั่นไม่ได้หมายความว่าการลงทุนนั้นจะไม่มีข้อดี เพราะการลงทุนก็ถือเป็นหนึ่งในตัวช่วยของการกระจายความเสี่ยงในการดำเนินชีวิตของคุณให้มีระบบแบบแผนมากยิ่งขึ้น สำหรับการวางแผนการลงทุนเป็นการสร้างผลตอบแทนในระยะยาวที่จะช่วยให้คุณสามารถนำเงินทุนมาต่อยอดให้ตรงกับเป้าหมายชีวิตที่คุณวางแผนไว้

 

5 กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยง มีอะไรบ้าง?

การลงทุนมีความเสี่ยง

หากต้องการให้การลงทุนสามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคุณได้นั้น คุณจำเป็นจะต้องมีกลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยง โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลยุทธ์สำคัญที่มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

1. การวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงที่ยอมรับได้

ขั้นตอนแรก คือ การวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงที่ยอมรับได้ จะช่วยให้คุณสามารถเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการลงทุนได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งยังสามารถประเมินความสำคัญของความเสี่ยงได้ว่า คุณยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้มากน้อยแค่ไหน

2. การจัดสรรสินทรัพย์การลงทุน

ขั้นตอนต่อไป คือ การจัดสรรสินทรัพย์การลงทุน โดยนักลงทุนควรจะกระจายสินทรัพย์ในการลงทุน เพื่อลดความเสี่ยงด้านตลาด เพราะหากคุณเลือกลงทุนสินทรัพย์ในตลาดเดียว อาจจะทำให้คุณเผชิญกับความเสี่ยงของตลาดได้ 100% ดังนั้นแล้ว การจัดสรรสินทรัพย์การลงทุน ควรกระจายสินทรัพย์ตามสัดส่วนที่มีความเหมาะสมกับเป้าหมายการลงทุนหรือเศรษฐกิจในช่วงนั้น ๆ เพื่อให้พอร์ตการลงทุนของคุณเป็นระบบมากยิ่งขึ้นครับ

3.  การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน

การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุนเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่จะช่วยให้นักลงทุนสามารถลดความเสี่ยงจากจังหวะการซื้อขายได้ โดยการถัวเฉลี่ยต้นทุน คือ การแบ่งเงินทุนไว้อย่างเป็นระบบและถัวเฉลี่ยต้นทุนในสินทรัพย์จำนวนเท่า ๆ กัน อีกทั้งยังเป็นการลงทุนที่มีความสม่ำเสมอเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยให้นักลงทุนไม่จำเป็นต้องกังวลถึงความผันผวนของราคาสินทรัพย์ที่มากเกินไป

4. การติดตามกลยุทธ์

ถัดมาที่การติดตามกลยุทธ์ คือ การวัดประสิทธิภาพการวางแผนการลงทุนของคุณว่า พอร์ตเป็นระบบและมีความคุ้มค่าต่อต้นทุนหรือไม่

5. การปรับเปลี่ยนแบบแผน

ขั้นตอนสุดท้าย คือ การปรับเปลี่ยนแบบแผน โดยขั้นตอนนี้จะเป็นผลมาจากการประเมินในขั้นตอนที่ 4 หากคุณติดตามกลยุทธ์ความเสี่ยงแล้วประเมินได้ว่า พอร์ตการลงทุนของคุณจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนแบบแผน คุณก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ โดยอาจจะกำหนดระยะเวลาเป็นช่วง ๆ ของการติดตาม เพื่อให้การกระจายความเสี่ยงนี้มีประสิทธิภาพให้มากที่สุดในอนาคต

 

บทความแนะนำเพิ่มเติม : 

Money Management (MM) คืออะไร? ทำไมเทรดเดอร์ถึงควรบริหารจัดการเงินทุนให้ถูกวิธี

 

สรุป

จากที่กล่าวไปข้างต้น สรุปได้ว่า 5 กลยุทธ์วางแผนการลงทุน เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง ถือเป็นกลยุทธ์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยให้นักลงทุนสามารถจัดสรรสินทรัพย์และกระจายความเสี่ยงให้ตรงกับเป้าหมายการลงทุนของตนเอง อีกทั้งยังช่วยสร้างผลตอบแทนในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

------------------------------------------------------------------------

สามารถศึกษาความรู้เพิ่มเติมได้จากแหล่ง ดังต่อไปนี้

อัพเดตข่าวสารการลงทุนในตลาดฟอเร็กซ์ : คลิกที่นี่

อ่านรีวิวโบรกเกอร์ยอดนิยมที่น่าใช้ : คลิกที่นี่

อ่านรีวิวโบรกเกอร์ที่ควรระวัง : คลิกที่นี่

อ่านบทความเพิ่มเติม : FXBROKERSCAM