หลายท่านอาจจะเคยได้ยินคำว่า GDP กันมาบ้างแล้ว วันนี้ทีมงาน FXbrokerscam จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ หรือที่เรารู้จักกันดีว่า GDP คืออะไร ? มีความหมายอย่างไร และส่งผลกระทบอย่างไรต่อนักลงทุนในตลาด Forex ?
ไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุนมือใหม่หรือนักลงทุนมืออาชีพ GDP ล้วนเป็นสิ่งสำคัญต่อการลงทุนเป็นอย่างมาก หากคุณพร้อมที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับ GDP แล้ว ไปอ่านบทความนี้พร้อม ๆ กันเลยครับ
ทำความรู้จักค่า GDP คืออะไร ? |
GDP (Gross Dometics Product) คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่มาจากรายได้ที่เกิดขึ้นภายในประเทศ หรืออาจจะมาจากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการจับจ่ายใช้สอยของผู้คนภายในประเทศนั้น ๆ ด้วยครับ ยกตัวอย่าง เช่น GDP ของประเทศจีนก็จะมาจากการนับรายได้โดยรวมของประเทศจีนประเทศเดียวเท่านั้น ทั้งนี้ GDP จะนับรวมถึงนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในประเทศด้วย แล้วถ้าหากเป็นคนไทยที่มีรายได้จากต่างประเทศจะนับรวมเป็น GDP อยู่ไหม ? คำตอบ คือ ไม่นะครับ อย่างที่พูดไปว่า GDP จะเป็นการนับรวมรายได้ภายในประเทศเท่านั้น ส่วนรายได้ที่มาจากต่างประเทศเราจะเรียกว่า GNP นั่นเอง
🔔 เกร็ดน่ารู้ GNP คือ รายได้จากคนในประเทศไทยที่ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ใดก็ตามบนโลกนี้ หากคุณมีสัญชาติไทยและมีรายได้จากต่างประเทศ รายได้ของคุณก็จะถือเป็น GNP ของประเทศไทยนั่นเอง |
ทำความรู้จัก 4 ประเภทหลักของ GDP เหมือนและแตกต่างกันยังไง ? |
GDP สามารถแบ่งประเภทหลักออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน ดังนี้
Nominal GDP หรือ GDP ณ ราคาตลาด ที่จะเป็นการวัดมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ณ เวลานั้น ๆ โดยจะคำนวณจากราคาปัจจุบันของรายการสินค้าและบริการดังกล่าว โดยมีการคำนวณค่าเงินเฟ้อรวมไปด้วย Nomanal GDP จึงถูกนำมาใช้เพื่อคำนวณสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันครับ
Real GDP ก็มีความหมายตรงตัวเลยครับ คือ GDP ที่แท้จริง ซึ่งจะคล้าย ๆ กับ Nominal GDP แต่จะมีส่วนแตกต่างกันตรงที่การคำนวณ Nomanal GDP จะเป็นการคำนวณโดยรวมค่าเงินเฟ้อเข้าไปด้วย แต่ Real GDP จะไม่คำนวณรวมค่าเงินเฟ้อ ซึ่งในส่วนนี้ทำให้ Real GDP ถือเป็นตัววัดค่า GDP ที่ดีที่สุดก็ว่าได้ครับ
GDP Per Capita คือ ค่า GDP ต่อหัว ซึ่งหาได้จากการนำมูลค่า GDP มาหารเป็นรายหัว หาก GDP Per Capita มีตัวเลขที่สูงก็เท่ากับว่ารายได้เฉลี่ยของคนในประเทศมีมาก และในทางกลับกัน หากมีตัวเลขที่น้อยก็เท่ากับว่า รายได้เฉลี่ยในประเทศมีน้อยนั่นเอง ซึ่ง GDP Per Capita นี่แหละครับ ที่เราสามารถนำมาเปรียบเทียบมาตรฐานการครองชีพของประเทศต่าง ๆ ได้
Purchasing Power Parity GDP หรือ PPP GDP คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ โดยคำนวณจากอำนาจการซื้อ PPP GDP จึงมักใช้เปรียบเทียบกำลังซื้อที่แท้จริงของประชากรภายในประเทศแต่ละประเทศ
วิธีการคำนวณค่า GDP |
สามารถคำนวณค่า GDP ของประเทศได้จากสูตรต่อไปนี้
GDP = C + I + G + (X - M) |
C |
Consumption |
มูลค่าจากการบริโภคทั้งภาครัฐ และเอกชน |
I |
Investment |
การลงทุนที่เกิดจากภาคเอกชน |
G |
Government Spending |
การจับจ่าย และการลงทุนที่เกิดจากภาครัฐ |
X - M |
Net Export |
ยอดสุทธิจากการส่งออก ( X มาจากมูลค่าการส่งออก และ M มาจากมูลค่าการนำเข้า ) |
รู้หรือไม่ มูลค่าจากการนำเข้า (M) ยิ่งมีมากเท่าไหร่ก็จะทำให้ค่า GDP ภายในประเทศลดลงมากเท่านั้น เนื่องจากการนำเข้าถือเป็นส่วนหนึ่งในรายจ่ายซ้ำการนำเข้ายังถือเป็นการทดแทนการผลิตที่เกิดขึ้นในประเทศอีกด้วย
ค่า GDP ที่สูงและต่ำส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร ? |
ค่า GDP สูง หมายความว่า ภาพรวมของรายได้ภายในประเทศมีการเติบโตเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา กล่าวคือ เศรษฐกิจภายในประเทศมีการเติบโตเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการส่งออกโดยรวมมีมูลค่ามากกว่าการนำเข้า
ค่า GDP ต่ำ หมายความว่า เศรษฐกิจโดยรวมภายในประเทศเกิดการชะลอตัว หรือการจับจ่ายและการบริโภคภายในประเทศลดน้อยลงนั่นเอง โดยผลกระทบจากการที่ GDP ต่ำนั้น จะส่งผลทำให้การจ้างงานและรายได้ของคนในประเทศลดน้อยลงตามไปด้วยครับ
ปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อค่า GDP ? |
ค่า GDP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยปัจจัยภายในและภายนอกหลายอย่าง ดังนี้
ปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อค่า GDP |
ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อค่า GDP |
|
|
กลยุทธ์การเทรด Forex ด้วยการดูค่า GDP ทำอย่างไร ? |
การใช้ค่า GDP ประกอบกับการเทรด Forex สามารถทำได้ดังวิธีต่อไปนี้ครับ
บันทึกและติดตามวันที่มีการประกาศตัวเลขค่า GDP ประเทศที่เกี่ยวข้องกับคู่สกุลเงินที่คุณสนใจ เช่น ติดตามข่าวสารเศรษฐกิจผ่านปฏิทินข่าว Forex Factory
เปรียบเทียบค่า GDP ของไตรมาสก่อนหน้า เพื่อวิเคราะห์และวางแผนทำกำไรในช่วงที่ตลาดเกิดความผันผวน
เตรียมพร้อมและวางแผนการเทรด เพื่อพิจารณาการตั้ง Pending Order ในการเข้าเทรดอัตโนมัติ เพื่อให้สามารถเข้าเทรดในระยะเวลาสำคัญได้ทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ
การป้องกันความเสี่ยงในการเทรดก็ถือเป็นสิ่งสำคัญเช่นกันครับ นักลงทุนควรกำหนด Stop Loss ให้ดีเพื่อป้องกันการขาดทุนเกินงบประมาณที่ตั้งไว้ และกำหนด Take Profit เพื่อปิดสถานะการเทรดอัตโนมัติเมื่อกำไรถึงระดับที่คุณต้องการ
ค่า GDP ส่งผลอย่างไรต่อตลาด Forex ? |
เมื่อค่า GDP สูงธนาคารกลางจะแก้ปัญหาโดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนจำนวนมาก จนทำให้มูลค่าของสกุลเงินเพิ่มมากขึ้น หรือค่าเงินแข็งค่าขึ้นนั่นแหละครับ ในฝั่งทิศทางตรงข้ามกัน หาก GDP ต่ำลงธนาคารกลางจะลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง ในส่วนนี้อาจจะทำให้เกิดความผันผวนในตลาด Forex ได้ง่ายครับ
ดังนั้น การเพิ่มขึ้น - ลดลงของค่า GDP จึงมักส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ยกตัวอย่างเช่น หากมูลค่าของค่า GDP ในประเทศที่คุณลงทุนในคู่สกุลเงินนั้นลดลง อาจจะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนลดน้อยลงตามไปด้วย จนทำให้เกิดการเทขายจำนวนมากนั่นเอง
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับค่า GDP |
➢ ค่า GDP ต่อหัวหรือ GDP Per Capita คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อประชากรรายคน ทำให้สูตรหาค่า GDP ต่อหัวจะเท่ากับ GDP หารด้วยจำนวนคนภายในประเทศ
➢ ค่า GDP คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ซึ่งจะมีองค์ประกอบมาจากรายจ่ายสำหรับการบริโภค, รายจ่ายเพื่อการลงทุนของทั้งภาครัฐและเอกชน และมูลค่าของสินค้าที่เราส่งออกไปขายต่างประเทศ เป็นต้น
➢ ค่า GDP สูงถือว่าเป็นเรื่องที่ดีครับ เพราะหากค่า GDP สูง จะหมายความว่า อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจภาพรวมมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจ้างงาน รวมถึงอัตราการจับจ่ายภายในประเทศด้วยครับ
สรุปค่า GDP คืออะไรส่งผลอย่างไรต่อตลาด Forex |
ค่า GDP จะหมายถึง ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศนั้น ๆ ที่จะคำนวณมาจากรายได้ที่เกิดขึ้นภายในประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้ GDP ส่งผลต่อตลาด Forex โดยตรง เช่น เมื่อค่า GDP มีมูลค่าที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงก็มักจะส่งผลต่อความผันผวนภายในตลาด Forex ครับ
อย่างไรก็ดี GDP เป็นเพียงหนึ่งในหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าเงิน นักลงทุนจำเป็นต้องติดตามข่าวสารเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด และพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมด้วย เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนเริ่มลงทุน
-------------------------------------------------
สามารถศึกษาความรู้เพิ่มเติมได้จากแหล่ง ดังต่อไปนี้
อัพเดตข่าวสารการลงทุนในตลาดฟอเร็กซ์ : คลิกที่นี่
อ่านรีวิวโบรกเกอร์ยอดนิยมที่น่าใช้ : คลิกที่นี่
อ่านรีวิวโบรกเกอร์ที่ควรระวัง : คลิกที่นี่
อ่านบทความเพิ่มเติม : FXBROKERSCAM