List of content

คู่มือฉบับเต็ม : ประเภทคำสั่งซื้อขาย Forex ที่ทุกคนควรรู้


คู่มือฉบับเต็ม : ประเภทคำสั่งซื้อขาย Forex ที่ทุกคนควรรู้

ประเภทคำสั่งซื้อขาย Forex มีอะไรบ้าง? การเตรียมตัวสำหรับการเทรด Forex เป็นสิ่งสำคัญสำหรับเทรดเดอร์ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หรือมืออาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าใจประเภทคำสั่งซื้อขายที่มีอยู่ในตลาด Forex เพราะจะช่วยให้คุณสามารถเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมและจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในบทความนี้จะพาไปรู้จักกับประเภทคำสั่งซื้อขาย Forex ที่ทุกคนควรรู้

 

⚠️ คำเตือน! การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดเพื่อเป็นประโยชน์ของตัวท่านเอง และเพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อกลโกงของเหล่าโบรกเกอร์ครับ ⚠️

 

ทำไมการรู้ประเภทคำสั่งซื้อขาย Forex ถึงสำคัญ?

การเข้าใจประเภทของคำสั่งซื้อขาย Forex เป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยให้คุณควบคุมสถานการณ์การเทรดได้ดีมากขึ้น เนื่องจากตลาด Forex เป็นตลาดที่มีความผันผวนสูง การเลือกใช้ประเภทคำสั่งซื้อขายที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำกำไรและลดความเสี่ยงจากการขาดทุนได้ครับ

 

การซื้อขาย Forex คืออะไร?

การซื้อขาย Forex คือ การแลกเปลี่ยนสกุลเงินระหว่างประเทศหรือเรียกสั้น ๆ ว่า "การซื้อขายสกุลเงิน" ครับ โดยเทรดเดอร์จะทำการซื้อขายเพื่อทำกำไรจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินนั่นเอง

ตลาด Forex เป็นตลาดการเงินขนาดใหญ่ที่เปิดให้ซื้อขายตลาด 24 ชม. 5 วันต่อสัปดาห์ เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการเปิดรับโอกาสในการทำกำไรจากความผันผวนของค่าเงินด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยเศรษฐกิจพื้นฐานและการวิเคราะห์ทางเทคนิคครับ

 

ประเภทของคำสั่งซื้อขาย Forex ที่พบบ่อย

ประเภทของคำสั่งซื้อขาย Forex ที่พบบ่อยมีดังนี้

1. คำสั่งประเภท Market Order

  • คำสั่ง Buy
  • คำสั่ง Sell

2. คำสั่งประเภท Pending

  • คำสั่ง Take Profit
  • คำสั่ง Stop Loss

3. คำสั่งประเภท Limit

  • คำสั่ง Buy Limit
  • คำสั่ง Sell Limit

4. คำสั่งประเภท Stop

  • คำสั่ง Buy Stop
  • คำสั่ง Sell Stop

 

คำสั่งประเภท Market Order

คำสั่ง Market Order เป็นคำสั่งซื้อขายสินทรัพย์ในราคาปัจจุบัน ซึ่งจะถูกดำเนินการเมื่อเทรดเดอร์ต้องการเปิดออเดอร์ ณ ราคาที่ดีที่สุดในตลาด วิธีการนี้เหมาะสำหรับเทรดเดอร์ที่มีเวลาในการติดตามการเคลื่อนไหวของตลาด และมีความเชี่ยวชาญในการเลือกจังหวะในการลงทุน แม้ว่าการใช้คำสั่ง Market Order จะเป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็วที่สุด แต่ก็ต้องระมัดระวังเกี่ยวกับปัญหา Slippage ที่อาจทำให้ราคาแตกต่างจากที่คาดการณ์ไว้ได้ 

 

1. คำสั่ง Buy

คำสั่ง Buy (ซื้อ) คือ คำสั่งที่เทรดเดอร์ใช้เพื่อซื้อสินทรัพย์ในตลาด Forex เมื่อราคาถึงระดับที่ต้องการ ซึ่งบ่งบอกแนวคิดของเทรดเดอร์ที่คาดการณ์ว่า ราคาของสินทรัพย์จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรืออยู่ในภาวะตลาดขาขึ้นนั่นเองครับ

 

คำสั่งประเภท Market Order : คำสั่ง Buy

 

ตัวอย่างคำสั่ง Buy

หากเทรดเดอร์คาดการณ์ว่า ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) มีแนวโน้มแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินยูโร (EUR) และต้องการเปิดคำสั่ง Buy สำหรับคู่ EURUSD ที่อัตราแลกเปลี่ยน 1.12000 จำนวน 1 Lot (100,000 หน่วย)

1. เปิดคำสั่ง Buy ที่ราคา 1.12000
2. ตั้งเป้าหมายกำไรที่ราคา 1.15000 (คาดว่าราคา EURUSD จะเพิ่มขึ้น)
หลังจากนั้น หากราคาของ EURUSD เพิ่มขึ้นไปถึง 1.15000 ตามที่คาดไว้ เทรดเดอร์จะทำกำไรจากการซื้อขาย ดังนี้

                               กำไร = (1.15000 - 1.12000) x จำนวนหน่วยที่ซื้อขาย (Lot)

                               กำไร = (1.15000 - 1.12000) x 100,000

                               กำไร = 3,000 USD

ดังนั้น เทรดเดอร์จะได้รับกำไร 3,000 USD จากคำสั่ง Buy สำหรับคู่ EURUSD ครับ

 

2. คำสั่ง Sell

คำสั่ง Sell (ขาย) คือ คำสั่งที่เทรดเดอร์ใช้เพื่อขายสินทรัพย์ในตลาด Forex เมื่อราคาถึงระดับที่ต้องการ ซึ่งบ่งบอกแนวคิดของเทรดเดอร์ที่คาดการณ์ว่า ราคาของสินทรัพย์จะมีแนวโน้มลดลงหรืออยู่ในภาวะตลาดขาลงนั่นเองครับ

 

คำสั่งประเภท Market Order : คำสั่ง Sell

 

ตัวอย่างคำสั่ง Sell

หากเทรดเดอร์คาดการณ์ว่า ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) มีแนวโน้มอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินยูโร (EUR) และต้องการเปิดคำสั่ง Sell สำหรับคู่ EURUSD ที่อัตราแลกเปลี่ยน 1.12000 จำนวน 1 Lot (100,000 หน่วย)

1. เปิดคำสั่ง Sell ที่ราคา 1.12000
2. ตั้งเป้าหมายกำไรที่ราคา 1.10000 (คาดว่าราคา EURUSD จะลดลง)
หลังจากนั้น หากราคาของ EURUSD ลดลงไปถึง 1.10000 ตามที่คาดไว้ เทรดเดอร์จะทำกำไรจากการซื้อขาย ดังนี้

                               กำไร = (1.12000 - 1.10000) x จำนวนหน่วยที่ซื้อขาย (Lot)

                               กำไร = (1.12000 - 1.10000) x 100,000

                               กำไร = 2,000 USD

ดังนั้น เทรดเดอร์จะได้รับกำไร 2,000 USD จากคำสั่ง Sell สำหรับคู่ EURUSD ครับ

 

คำสั่งประเภท Pending

คำสั่ง Pending หรือคำสั่งรอดำเนินการเป็นการตั้งคำสั่งล่วงหน้า โดยเมื่อเทรดเดอร์ต้องการที่จะซื้อขายสินทรัพย์ใด ๆ จะต้องทำการกำหนดราคาที่คาดว่าจะได้กำไร และเมื่อราคาสินทรัพย์มีการเคลื่อนไหวไปยังระดับที่กำหนดไว้ คำสั่ง Pending จะทำงานอัตโนมัติครับ

การใช้คำสั่ง Pending มีความสำคัญมากสำหรับเทรดเดอร์ที่ไม่สามารถเฝ้าติดตามตลาดได้ตลอดเวลา หรือไม่ต้องการใช้เวลาทั้งวันนั่งดูกราฟ หากตั้งคำสั่งล่วงหน้าไว้ เทรดเดอร์สามารถกลับมาดูผลการเทรดในภายหลังได้ โดยไม่ต้องอยู่หน้าจอเป็นเวลานาน คำสั่งประเภทนี้จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายในการเทรดครับ

 

1. คำสั่ง Take Profit

คำสั่ง Take Profit (TP) คือ คำสั่งที่เทรดเดอร์ตั้งไว้เพื่อปิดออเดอร์ เมื่อราคาของสินทรัพย์ถึงระดับกำไรที่ต้องการ ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถล็อกผลกำไรโดยอัตโนมัติเมื่อราคาขึ้นถึงจุดที่กำหนดไว้

การใช้คำสั่ง TP ช่วยลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงราคาที่ไม่คาดคิด โดยไม่จำเป็นต้องเฝ้าหน้าจออยู่ตลอดเวลา เมื่อราคาของสินทรัพย์เคลื่อนไหวไปถึงราคาที่ตั้งไว้ คำสั่งนี้จะทำการปิดการซื้อขายโดยอัตโนมัติ

 

คำสั่งประเภท Pending : คำสั่ง Take Profit

 

วิธีการเปิดคำสั่ง Take Profit

  1. เลือกสินทรัพย์ที่ต้องการเปิดคำสั่ง Take Profit (TP) 
  2. วิเคราะห์แนวโน้มราคาหรือแนวรับแนวต้าน เพื่อกำหนดจุดที่เหมาะสมในการตั้ง TP
  3. เปิดคำสั่งซื้อ (Long Position) หรือคำสั่งขาย (Short Position) โดยให้ไปที่หน้าต่างคำสั่งในแพลตฟอร์มเทรดของคุณ
  4. ตั้งคำสั่ง Take Profit โดยให้กรอกระดับราคาที่คุณต้องการล็อกกำไร เช่น หากคุณซื้อที่ 1.3000 และคาดว่าราคาจะไปถึง 1.3100 ก็ให้ตั้ง TP ที่ 1.3100 ครับ
  5. กำหนดปริมาณการซื้อที่ต้องการ
  6. ตรวจสอบข้อมูลและยืนยันการตั้งคำสั่ง TP
  7. เมื่อราคาถึงระดับ TP ที่ตั้งไว้ ระบบจะทำการปิดคำสั่งอัตโนมัติครับ

 

2. คำสั่ง Stop Loss

คำสั่ง Stop Loss (SL) คือ คำสั่งที่เทรดเดอร์ตั้งไว้เพื่อปิดออเดอร์ เมื่อราคาของสินทรัพย์เคลื่อนไหวในทิศทางตรงข้ามกับที่คาดไว้หรือเรียกว่า "การตัดขาดทุน" ซึ่งช่วยจำกัดการขาดทุนที่มากเกินไปจากการเคลื่อนไหวของราคาที่ผิดคาด และช่วยลดความเสี่ยงในการพอร์ตแตกได้ครับ

การใช้คำสั่ง SL ช่วยลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงราคาที่ไม่คาดคิดจากตลาดที่มีความผันผวนสูง โดยไม่จำเป็นต้องเฝ้าหน้าจออยู่ตลอดเวลา เมื่อราคาของสินทรัพย์เคลื่อนไหวสวนทางกับที่คาดไว้และไปถึงราคาที่ตั้ง SL ไว้ คำสั่งนี้จะทำการปิดการซื้อขายโดยอัตโนมัติ

 

คำสั่งประเภท Pending : คำสั่ง Stop Loss

 

วิธีการเปิดคำสั่ง Stop Loss

  1. เลือกสินทรัพย์ที่ต้องการเปิดคำสั่ง Stop Loss (SL)
  2. วิเคราะห์แนวโน้มราคาหรือแนวรับแนวต้าน
  3. เปิดคำสั่งซื้อ (Long Position) หรือคำสั่งขาย (Short Position) โดยให้ไปที่หน้าต่างคำสั่งในแพลตฟอร์มเทรดของคุณ
  4. ตั้งคำสั่ง Stop Loss โดยให้กรอกระดับราคาที่คุณต้องการตัดขาดทุน เช่น หากคุณซื้อที่ 1.3000 และคาดว่าราคาจะไปถึง 1.3100 แต่หากราคาไม่เป็นไปตามที่คาดและรับการขาดทุนได้ที่ 1.2900 ก็ให้ตั้ง SL ที่ 1.2900 ครับ
  5. กำหนดปริมาณการซื้อที่ต้องการ
  6. ตรวจสอบข้อมูลและยืนยันการตั้งคำสั่ง SL
  7. เมื่อราคาถึงระดับ SL ที่ตั้งไว้ ระบบจะทำการปิดคำสั่งอัตโนมัติครับ

 

คำสั่งประเภท Limit

คำสั่ง Limit เป็นหนึ่งในประเภทคำสั่งที่ใช้ในการซื้อหรือขายสินทรัพย์ในราคาที่กำหนด ซึ่งอาจต่ำกว่าหรือสูงกว่าราคาตลาดในขณะนั้น เหมาะสำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการซื้อหรือขายที่ราคาเฉพาะ เพื่อจัดการความเสี่ยงและได้ราคาที่ดีที่สุดครับ

การใช้คำสั่ง Limit ช่วยให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับราคาเท่ากับหรือต่ำกว่าราคา Limit สำหรับการซื้อและราคาเท่ากับหรือสูงกว่าราคา Limit สำหรับการขาย นอกจากนี้ คำสั่ง Limit อาจมีการจำกัดเวลาในการดำเนินการ โดยทั่วไปจะมีค่าธรรมเนียมสูงกว่าคำสั่ง Market Order ครับ 

 

1. คำสั่ง Buy Limit

คำสั่ง Buy Limit คือ คำสั่งที่ตั้งขึ้นเพื่อซื้อสินทรัพย์ในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดปัจจุบัน โดยเทรดเดอร์จะกำหนดราคาที่ต้องการซื้อไว้ล่วงหน้า คำสั่ง Buy Limit จะถูกเปิดเมื่อราคาตลาดลดลงถึงระดับที่ตั้งไว้หรือที่ต่ำกว่า โดยราคาที่ตั้งไว้จะต้องต่ำกว่าราคาปัจจุบันเพื่อให้สามารถดำเนินการซื้อได้ครับ คำสั่งนี้เหมาะสำหรับนักลงทุนที่คาดการณ์ว่า ราคาจะตกลงก่อนที่จะกลับตัวขึ้น ซึ่งช่วยให้สามารถซื้อสินทรัพย์ในราคาที่ดีกว่านั่นเอง

 

คำสั่งประเภท Limit : คำสั่ง Buy Limit

 

วิธีการเปิดคำสั่ง Buy Limit

  1. เลือกสินทรัพย์ที่ต้องการเปิดคำสั่ง Buy Limit
  2. วิเคราะห์แนวโน้มราคาหรือแนวรับแนวต้าน
  3. กำหนดราคาที่ต้องการ โดยเทรดเดอร์จะต้องเลือกราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด ณ ปัจจุบัน
  4. ตั้งคำสั่ง Buy Limit โดยตั้งระดับราคาที่ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน เช่น ปัจจุบันราคา 1.3000 แต่คุณคาดว่าราคาน่าจะลดลงไปต่ำกว่านี้ที่ 1.2000 ก่อนจะกลับตัวขึ้น ก็ให้ตั้งคำสั่ง Buy Limit ที่ 1.2000
  5. กำหนดปริมาณการซื้อที่ต้องการ
  6. ตรวจสอบข้อมูลและยืนยันการตั้งคำสั่ง Buy Limit
  7. คำสั่งจะรอดำเนินการจนกว่าราคาจะลดลงถึงระดับที่ตั้งไว้ เมื่อราคาตลาดลงไปถึงราคาที่กำหนด คำสั่งจะถูกดำเนินการ และเทรดเดอร์จะซื้อสินทรัพย์ในราคาที่ตั้งไว้ครับ

 

2. คำสั่ง Sell Limit

คำสั่ง Sell Limit คือ คำสั่งที่ใช้ในการขายสินทรัพย์ที่ราคาที่กำหนดหรือสูงกว่าราคาตลาดปัจจุบัน โดยคำสั่งนี้จะต้องตั้งอยู่ที่ราคาที่คาดว่าจะสูงกว่าราคาตลาด เพื่อให้สามารถขายได้ในราคาที่ดีขึ้น เมื่อราคาตลาดถึงระดับที่ตั้งไว้ คำสั่ง Sell Limit จะถูกดำเนินการโดยอัตโนมัติ คำสั่งนี้เหมาะสำหรับนักลงทุนที่คาดการณ์ว่า ราคาจะเพิ่มขึ้นก่อนที่จะกลับตัวลง ซึ่งช่วยให้สามารถควบคุมราคาขายได้ดีขึ้นนั่นเอง

 

คำสั่งประเภท Limit : คำสั่ง Sell Limit

 

วิธีการเปิดคำสั่ง Sell Limit

  1. เลือกสินทรัพย์ที่ต้องการเปิดคำสั่ง Sell Limit
  2. วิเคราะห์แนวโน้มราคาหรือแนวรับแนวต้าน
  3. กำหนดราคาที่ต้องการ โดยเทรดเดอร์จะต้องเลือกราคาที่สูงกว่าราคาตลาด ณ ปัจจุบัน
  4. ตั้งคำสั่ง Sell Limit โดยตั้งระดับราคาที่สูงกว่าราคาปัจจุบัน เช่น ปัจจุบันราคา 1.3000 แต่คุณคาดว่าราคาน่าจะเพิ่มขึ้นไปสูงกว่านี้ที่ 1.4000 ก่อนจะกลับตัวลง ก็ให้ตั้งคำสั่ง Sell Limit ที่ 1.4000
  5. กำหนดปริมาณการซื้อที่ต้องการ
  6. ตรวจสอบข้อมูลและยืนยันการตั้งคำสั่ง Sell Limit
  7. คำสั่งจะรอดำเนินการจนกว่าราคาจะเพิ่มถึงระดับที่ตั้งไว้ เมื่อราคาตลาดขึ้นไปถึงราคาที่กำหนด คำสั่งจะถูกดำเนินการ และเทรดเดอร์จะได้สินทรัพย์ในราคาที่ตั้งไว้ครับ

 

คำสั่งประเภท Stop

คำสั่ง Stop เป็นคำสั่งที่ใช้ในการซื้อหรือขายสินทรัพย์เมื่อราคาถึงระดับที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า โดยราคาที่ตั้งไว้จะต่ำกว่าราคาตลาดปัจจุบัน หากราคาตกถึงระดับที่กำหนด คำสั่งจะถูกเปิดและดำเนินการซื้อขายทันทีในราคาตลาดปัจจุบัน คำสั่งนี้ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถจัดการกับความเสี่ยงและป้องกันการขาดทุนได้จากความผันผวนของตลาดได้ รวมทั้งยังสามารถใช้เป็นสัญญาณในการเข้าซื้อในกรณีที่ราคาทะลุระดับที่ตั้งไว้ ซึ่งบ่งบอกถึงโอกาสที่ราคาจะเพิ่มขึ้นต่อไปได้อีกด้วย

 

1. คำสั่ง Buy Stop

คำสั่ง Buy Stop คือคำสั่งที่เทรดเดอร์ตั้งใจจะเปิดการซื้อสินทรัพย์เมื่อราคาของสินทรัพย์นั้นสูงกว่าระดับที่กำหนดไว้ โดยคำสั่งนี้จะถูกตั้งไว้เหนือราคาตลาดปัจจุบัน ซึ่งหมายความว่า หากราคาสินทรัพย์ขึ้นไปถึงราคาที่กำหนด คำสั่งจะถูกดำเนินการโดยอัตโนมัติ และเปิดการซื้อในราคาตลาดที่มีอยู่ในขณะนั้น ซึ่งเทรดเดอร์มักจะใช้คำสั่งนี้เมื่อคาดการณ์ว่าราคาจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังจากแตะระดับราคานั้น ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเข้าถึงโอกาสในการซื้อสินทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพในตลาดที่มีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว

 

คำสั่งประเภท Stop : คำสั่ง Buy Stop

 

วิธีการเปิดคำสั่ง Buy Stop

  1. เลือกสินทรัพย์ที่ต้องการเปิดคำสั่ง Buy Stop
  2. วิเคราะห์แนวโน้มราคาหรือแนวรับแนวต้าน
  3. ตั้งค่าคำสั่ง Buy Stop โดยกำหนดราคาเปิดคำสั่งที่สูงกว่าราคาตลาดปัจจุบัน เช่น หากราคาปัจจุบันของสินทรัพย์คือ 50 คุณอาจตั้งคำสั่ง Buy Stop ที่ราคา 52
  4. กำหนดปริมาณที่ต้องการซื้อ
  5. ตรวจสอบข้อมูลและยืนยันการตั้งคำสั่ง Buy Stop
  6. คำสั่งจะถูกเปิดอัตโนมัติเมื่อราคาถึงระดับที่คุณกำหนดไว้ และกลายเป็นคำสั่ง Market Order ทันทีที่เงื่อนไขถูกต้อง

 

2. คำสั่ง Sell Stop

คำสั่ง Sell Stop คือ คำสั่งที่เทรดเดอร์ใช้เพื่อขายสินทรัพย์ในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดปัจจุบัน โดยคำสั่งนี้จะถูกเปิดเมื่อราคาของสินทรัพย์ลงมาถึงระดับที่กำหนดไว้ ซึ่งเทรดเดอร์มักจะใช้คำสั่งนี้เมื่อคาดการณ์ว่า ราคาจะลดลงต่อเนื่องหลังจากแตะระดับราคานั้น โดยคำสั่งนี้จะถูกตั้งไว้ต่ำกว่าราคาตลาดปัจจุบัน ซึ่งหมายความว่า หากราคาสินทรัพย์ขึ้นไปถึงราคาที่กำหนด คำสั่งจะถูกดำเนินการโดยอัตโนมัติ และเปิดการซื้อในราคาตลาดที่มีอยู่ในขณะนั้น ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเข้าถึงโอกาสในการขายสินทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพในตลาดที่มีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว

 

คำสั่งประเภท Stop : คำสั่ง Sell Stop

 

วิธีการเปิดคำสั่ง Sell Stop

  1. เลือกสินทรัพย์ที่ต้องการเปิดคำสั่ง Sell Stop
  2. วิเคราะห์แนวโน้มราคาหรือแนวรับแนวต้าน
  3. ตั้งค่าคำสั่ง Sell Stop โดยกำหนดราคาเปิดคำสั่งที่ต่ำกว่าราคาตลาดปัจจุบัน เช่น หากราคาปัจจุบันของสินทรัพย์คือ 50 คุณอาจตั้งคำสั่ง Sell Stop ที่ราคา 48
  4. กำหนดปริมาณที่ต้องการขาย
  5. ตรวจสอบข้อมูลและยืนยันการตั้งคำสั่ง Sell Stop
  6. คำสั่งจะถูกเปิดอัตโนมัติเมื่อราคาถึงระดับที่คุณกำหนดไว้ และกลายเป็นคำสั่ง Market Order ทันทีที่เงื่อนไขถูกต้อง

 

การเลือกประเภทคำสั่งซื้อขาย Forex ที่เหมาะสม

การเลือกประเภทคำสั่งซื้อขายที่เหมาะสมกับกลยุทธ์การเทรดของคุณจะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำกำไรและลดความเสี่ยง การรู้จักการใช้คำสั่งต่าง ๆ อย่างเหมาะสมจะช่วยให้คุณมีความมั่นใจมากขึ้นในการลงทุน

 

ข้อควรระวังในการใช้คำสั่งซื้อขาย Forex

การใช้คำสั่งซื้อขายใน Forex มีข้อควรระวังในการเลือกใช้ให้ตรงกับความต้องการ และควรตรวจสอบการตั้งคำสั่งให้ถูกต้องเสมอ เพื่อป้องกันความเสี่ยง นอกจากนี้ ควรตรวจสอบข่าวสารเศรษฐกิจและความเคลื่อนไหวของตลาดเสมอ เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสที่ดีครับ

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับประเภทคำสั่งซื้อขาย Forex ที่ทุกคนควรรู้

ประเภทคำสั่งซื้อขาย Forex สำคัญอย่างไร?

       ▶ ประเภทคำสั่งซื้อขาย Forex มีความสำคัญในการควบคุมสถานการณ์การเทรดในตลาดผันผวนสูง ช่วยเพิ่มโอกาสทำกำไรและลดความเสี่ยงขาดทุน

ประเภทของคำสั่งซื้อขาย Forex มีอะไรบ้าง?

       ▶  1. คำสั่ง Market Order
             2. คำสั่ง Buy
             3. คำสั่ง Sell
             4. คำสั่ง Pending
             5. คำสั่ง Take Profit
             6. คำสั่ง Stop Loss
             7. คำสั่ง Limit
             8. คำสั่ง Buy Limit
             9. คำสั่ง Sell Limit
             10. คำสั่ง Stop
             11. คำสั่ง Buy Stop
             12. คำสั่ง Sell Stop

ข้อควรระวังในการใช้คำสั่งซื้อขาย Forex คืออะไร?

       ▶  การใช้คำสั่งซื้อขายใน Forex มีข้อควรระวังในการเลือกใช้ให้ตรงกับความต้องการ และควรตรวจสอบการตั้งคำสั่งให้ถูกต้องเสมอ เพื่อป้องกันความเสี่ยง นอกจากนี้ ควรตรวจสอบข่าวสารเศรษฐกิจและความเคลื่อนไหวของตลาดเสมอ เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสในการเทรด

 

สรุปประเภทคำสั่งซื้อขาย Forex ที่ทุกคนควรรู้

การเข้าใจประเภทคำสั่งซื้อขาย Forex เป็นสิ่งสำคัญสำหรับเทรดเดอร์ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หรือมืออาชีพ การรู้จักวิธีใช้คำสั่งซื้อขายเหล่านี้ จะทำให้คุณมีเครื่องมือที่จำเป็นในการสร้างกำไรและลดความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพในตลาด Forex ที่เต็มไปด้วยความผันผวน นอกจากนี้ ควรติดตามข่าวสารเศรษฐกิจและความเคลื่อนไหวของตลาดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสดี ๆ การลงทุนทุกอย่างย่อมมีความเสี่ยง ดังนั้นเราจึงอยากให้เพื่อน ๆ ทุกคนเตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกันด้วยนะครับ 

--------------------------------------------------------

สามารถศึกษาความรู้เพิ่มเติมได้จากแหล่ง ดังต่อไปนี้

อัปเดตข่าวสารการลงทุนในตลาด Forex : คลิกที่นี่

อ่านรีวิวโบรกเกอร์ยอดนิยมที่น่าใช้ : คลิกที่นี่

อ่านรีวิวโบรกเกอร์ที่ควรระวัง : คลิกที่นี่

อ่านบทความเพิ่มเติม : FXBROKERSCAM