หากพูดถึงสกุลเงินที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ทุกคนคงนึกถึง ดอลลาร์สหรัฐ หรือ USD นั่นเอง เนื่องจากสกุลเงินดอลลาร์ เป็นสกุลเงินของประเทศสหรัฐอเมริกา และมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของสกุลเงินอื่น ๆ ทั่วโลก ในตลาดการลงทุน เทรดเดอร์ต้องติดตามหลายสกุลเงินเพื่อทำการเปรียบเทียบมูลค่า และวิเคราะห์ก่อนการเทรดหรือลงทุนครับ
ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสะดวกต่อเทรดเดอร์ จึงได้มีการพัฒนาดัชนี ซึ่งเป็นค่าเงิน US ที่ใช้ในการติดตามการเคลื่อนไหวของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ เราจึงเรียกดัชนีดังกล่าวว่า US Dollar Index หรือ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ ในบทความนี้ทีมงาน Fxbrokerscam จะพาไปรู้จักกับ Dollar Index ซึ่งเป็นดัชนีที่เทรดเดอร์ควรรู้จัก เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Dollar Index หรือ ดัชนีดอลลาร์ คือ ดัชนีค่าเงินของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ได้รับการพัฒนาครั้งแรกในปี 1973 โดย Federal Reserve (Fed) ดำเนินการภายใต้การดูแลของ International Exchange (ICE) ใช้ดูการแข็งค่าหรืออ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ โดยมีสกุลเงินที่เป็นของประเทศคู่ค้าหลักของสหรัฐฯ 6 คู่สกุลเงินหลัก ได้แก่
ยูโรโซน (EUR)
เยนญี่ปุ่น (JPY)
ปอนด์อังกฤษ (GBP)
ดอลลาร์แคนาดา (CAD)
โครนาสวีเดน (SEK)
ฟรังก์สวิส (CHF)
Dollar Index (ดัชนีดอลลาร์) มีหลายชื่อที่ใช้ในวงการการลงทุน เช่น US Dolllar Index, Dollar Spot Index หรือ USDX เป็นต้น ไม่ว่าจะเรียกว่าอย่างไร ดัชนีดอลลาร์ก็คือ ดัชนีที่คำนวณค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ เปรียบเทียบกับค่าเงินต่าง ๆ ทั่วโลก นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์กับทองคำเป็นอย่างมาก ทำให้คู่สินทรัพย์ XAU/USD เป็นที่นิยมในการเทรดอย่างกว้างขวาง รวมไปถึงยังมีคู่เงินที่นิยมเทรดอื่น ๆ อีกมากมาย
เนื่องจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐได้ถูกตั้งให้เป็นสกุลเงินสำรองระหว่างประเทศ ทำให้มูลค่าของสกุลเงินอื่น ๆ ถูกผูกเข้ากับดอลลาร์ และดอลลาร์ก็ผูกอยู่กับทองคำอีกที (หนึ่งออนซ์ = 35 ดอลลาร์สหรัฐ) อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ระบบเบรตตันวูดส์ (Bretton Woods system) ได้ถูกยกเลิกไป ทำให้ทองคำสำรองของสหรัฐฯ หมดลง และสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ก็ไม่สามารถคงมูลค่าของตัวเองไว้ได้ ด้วยเหตุนี้ DXY จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นวิธีการบันทึกมูลค่าของสกุลเงิน
Dollar Index (ดัชนีดอลลาร์) จะใช้ประกอบกับการเทรดคู่สกุลเงินที่มี USD ประกอบ โดยมี USD เป็นสกุลเงินหลัก อาทิเช่น XAU/USD, USD/EUR, USD/GBP และ AUD/USD ซึ่ง Dollar Index ก็จะมีแนวโน้มเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกัน
นอกเหนือจากการเทรดใน Forex แล้ว เรายังสามารถที่จะใช้ Dollar Index (ดัชนีดอลลาร์) ประกอบการเก็งกำไรในสินค้าโภคภัณฑ์อย่างอื่นได้อีก เช่น ทองคำหรือน้ำมัน เพราะ Dollar Index แสดงการเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามกับสินค้าโภคภัณฑ์ ดังนี้
ถ้า US Dollar Index เพิ่มขึ้น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะลดลง
ถ้า US Dollar Index ลดลง ราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะเพิ่มขึ้น
ซึ่งเราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า Dollar Index (ดัชนีดอลลาร์) วิ่งในทิศทางตรงกันข้ามกับทองคำและน้ำมันอย่างชัดเจน ดังนั้น Dollar Index (ดัชนีดอลลาร์) ก็ถือว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณคาดการณ์แนวโน้มทิศทางของคู่สกุลเงิน รวมทั้งสินค้าโภคภัณฑ์อย่างเช่น ทองคำและน้ำมันได้อีกด้วยครับ
การลงทุนดัชนีดอลลาร์สามารถทำได้หลายรูปแบบ และนี่คือ 3 วิธีในการลงทุนดัชนีดอลลาร์ที่นักลงทุนนิยม ได้แก่
การลงทุนดอลลาร์แบบดั้งเดิมของนักลงทุน คือการแลกเงินหรือการซื้อเงินดอลลาร์มาสะสมไว้ โดยแลกสกุลเงินของประเทศตนเองเป็นดอลลาร์ จากการไปติดต่อร้านแลกเงิน หรือหากต้องการเทรดค่าเงินจำนวนมากก็สามารถติดต่อดีลเลอร์ได้ เมื่อเรทราคามีการเปลี่ยนแปลงก็สามารถนำออกมาขาย ซึ่งกำไรจะมาจากส่วนต่างของราคานั่นเอง
การลงทุนด้วยวิธีนี้ทำได้ด้วยการเปิดบัญชีกองทุนแล้วส่งคำสั่งซื้อขายผ่านตัวแทนหรือแอป และได้ผลตอบแทนเป็นส่วนต่างราคาซื้อขายหน่วยลงทุน
การเทรดดัชนีดอลลาร์ด้วย CFD เป็นการลงทุนที่มีความสะดวกและคล่องตัวมาก โดยนักลงทุนสามารถใช้อัตราทด ช่วยลดเงินต้นที่ต้องนำมาเทรด ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงทศนิยมเพียงไม่กี่ตำแหน่งก็สร้างผลกำไรให้กับนักลงทุนได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทำกำไรได้ทั้งในขาขึ้นและขาลงอีกด้วย จึงเหมาะมาก ๆ กับนักลงทุนที่ต้องการเทรดระยะสั้น
หมายเหตุ: การลงทุนดัชนีดอลลาร์แต่ละแบบมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียด และข้อจำกัดของแต่ละวิธีก่อนการตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
การคำนวณ Dollar Index (ดัชนีดอลลาร์) สามารถคำนวณได้ ดังนี้
USDX = 50.14348112 × EUR/USD^(-0.576) × USD/JPY^(0.136) × GBP/USD^(-0.119) × USD/CAD^(0.091) × USD/SEK^(0.042) × USD/CHF^(0.036)
ปัจจัยที่ส่งผลต่อ Demand และSupply ของราคาดัชนีดอลลาร์นั้น ไม่แตกต่างจากปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ดังนี้
หากธนาคารกลางสหรัฐฯ มีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น ความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ (Demand) ก็จะเพิ่มขึ้น และส่งผลให้ดัชนีดอลลาร์ปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย
หากมีการพิมพ์เงินออกมาในระบบจำนวนมาก จะทำให้ความต้องการขายเงินดอลลาร์มีสูงขึ้นจะกดดันให้เงินค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า และดัชนีดอลลาร์ปรับตัวลดลง
ดอลลาร์สหรัฐเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ปลอดภัย หากระบบเศรษฐกิจการเงินมีความเสี่ยงสูงขึ้น ไม่ว่าจะจากทั้งด้านสงคราม, ความขัดแย้ง หรือวิกฤตเศรษฐกิจ ความต้องการของดอลลาร์จะสูงขึ้น ส่งผลให้เงินดอลลาร์แข็งค่า และดัชนีดอลลาร์ปรับตัวสูงขึ้น
สหรัฐฯ ถือเป็นประเทศที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมาก เนื่องจากทุกประเทศทั่วโลกมีการติดต่อค้าขายกับสหรัฐฯ ประกอบกับทุนสำรองระหว่างประเทศทั่วโลกมีดอลลาร์เป็นเงินทุนสำคัญอยู่ 60% ทำให้ดอลลาร์มีบทบาทที่สำคัญต่อนักลงทุนเป็นอย่างมาก เพราะแสดงถึงความไว้วางใจของนักลงทุน เนื่องจากดัชนีดอลลาร์ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของ 6 สกุลเงินหลัก รวมทั้งส่งผลต่อราคาสินทรัพย์อื่น ๆ ในโลกการลงทุนด้วยเช่นกัน
A: ตลาด Forex เปิดตลอด 24 ชั่วโมง
A: ดัชนีดอลลาร์ที่สูงขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนที่มีต้องการแลกสกุลเงินอื่นเป็นดอลลาร์ต้องใช้เงินจำนวนมากขึ้น แต่ในทางกลับกัน หากนักลงทุนที่มีสกุลเงินดอลลาร์อยู่แล้ว และต้องการแลกเป็นสกุลเงินอื่นจะได้รับเงินสกุลเงินอื่นเพิ่มขึ้น
Dollar Index (ดัชนีดอลลาร์) คือ ดัชนีที่คำนวณค่าดอลลาร์สหรัฐ เปรียบเทียบกับค่าเงินต่าง ๆ ทั่วโลก โดย Dollar Index (ดัชนีดอลลาร์) นี้ยังมีอิทธิพลต่อการลงทุนในตลาดโลก กระทบไปถึงตลาดการเงิน ตลาดทุน รวมถึงสินค้าโภคภัณฑ์ การศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับดัชนีดอลลาร์จะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถคาดการณ์ และตัดสินใจลงทุนได้อย่างเฉียบคมมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ก็ควรคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ และความเสี่ยงร่วมด้วย
------------------------------------------------------------------------
สามารถศึกษาความรู้เพิ่มเติมได้จากแหล่ง ดังต่อไปนี้
อัพเดตข่าวสารการลงทุนในตลาดฟอเร็กซ์ : คลิกที่นี่
อ่านรีวิวโบรกเกอร์ยอดนิยมที่น่าใช้ : คลิกที่นี่
อ่านรีวิวโบรกเกอร์ที่ควรระวัง : คลิกที่นี่
อ่านบทความเพิ่มเติม : FXBROKERSCAM