การเทรด Forex เป็นการทำกำไรจากการเคลื่อนไหวของคู่เงินที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งการจะอยู่ในตลาด Forex ให้ได้อย่างยั่งยืนนั้น เทรดเดอร์จำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจ กลยุทธ์การเทรด การป้องกันความเสี่ยง ตลอดจน “การวิเคราะห์ Forex ที่ดี” เพราะหากคุณไม่สามารถวิเคราะห์ราคาคู่เงินได้ คุณก็ไม่ต่างจาก “นักพนัน” ดังนั้น คุณจึงต้องทำความเข้าใจในสินทรัพย์และปัจจัยที่ส่งผลต่อสินทรัพย์นั้น ๆ ให้ดีก่อนลงมือเทรดครับ
การวิเคราะห์ราคา Forex เทรดเดอร์จำเป็นต้องเลือกให้เหมาะสมกับกลยุทธ์และแนวทางการลงทุนของตัวเอง ซึ่งในบทความนี้จะพาไปรู้จัก “การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน” กันครับว่า มันมีหลักการ ความสำคัญ และข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง
การวิเคราะห์ฟอเร็กซ์ (Forex Analysis) คือ วิธีการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของราคาคู่เงินในตลาด Forex เพื่อคาดการณ์ทิศทางการเคลื่อนไหวของราคาคู่เงิน โดยการวิเคราะห์ฟอเร็กซ์สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
การวิเคราะห์ทางเทคนิค
การเลือกใช้การวิเคราะห์แต่ละประเภทจะขึ้นอยู่กับแนวทางและกลยุทธ์ของเทรดเดอร์ ซึ่งอาจปรับใช้แบบผสมผสานทั้ง 2 วิธีการ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่แม่นยำที่สุดก็ได้เช่นกันครับ
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) คือ การประเมินมูลค่าของตราสารทางการเงินหนึ่ง ๆ โดยใช้ตัวแปรเชิงคุณภาพและตัวแปรเชิงปริมาณอื่นที่ไม่ใช่ราคา เพื่อประเมินมูลค่าที่ควรจะเป็นของสินทรัพย์นั้น ๆ ว่า แพงหรือถูกเกินไป ทำให้เทรดเดอร์สามารถตัดสินใจซื้อขายสินทรัพย์เหล่านั้นได้
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานสำคัญอย่างไร? อย่างที่กล่าวไปในข้างต้นครับว่า การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานอาศัยตัวแปรเชิงคุณภาพและตัวแปรเชิงปริมาณบางส่วนในการหามูลค่าที่แท้จริงของราคาคู่เงิน ดังนั้น มันจึงช่วยให้คุณทราบว่าคู่เงินนั้น ๆ มีราคาถูกหรือแพงเกินไป เพราะการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะช่วยให้คุณทราบสิ่งต่อไปนี้ครับ
ข้อมูลการตลาดที่มีค่า
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาคู่เงิน
ราคาคู่เงินที่เหมาะสม
แนวโน้มของราคาคู่เงิน
จุดเข้าและออกออเดอร์ที่เหมาะสม
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจำเป็นต้องมองหาเกณฑ์พื้นฐานในการวิเคราะห์ราคาคู่เงินจากปัจจัย 3 ข้อหลัก ๆ ดังนี้
สำหรับการซื้อขายสินทรัพย์ต่าง ๆ สิ่งสำคัญที่ทุกท่านควรพิจารณาเป็นอันดับแรก ๆ คือ “เศรษฐกิจ” ครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อขายค่าเงินต่างประเทศ (Forex) ที่ได้รับอิทธิพลจากสภาพเศรษฐกิจเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นการปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง สภาพเศรษฐกิจในแต่ละช่วง ตลอดจนนโยบายเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนของประเทศเจ้าของสกุลเงิน เพราะข้อมูลทางเศรษฐกิจเหล่านี้มักจะส่งผลโดยตรงต่อความต้องการถือครองเงินตรานั้น ๆ จึงทำให้มูลค่าของสกุลเงินมีการปรับขึ้นลงอยู่เสมอครับ
อย่างไรก็ดี หนึ่งประเทศที่ทุกท่านควรจับตามอง คือ สหรัฐฯ เพราะ USD เป็นสกุลเงินที่ทรงอิทธิพล และถูกใช้ในการแลกเปลี่ยนซื้อขายมากที่สุดในโลก อีกทั้ง อเมริกายังเป็นประเทศมหาอำนาจของโลกด้วย ดังนั้น เทรดเดอร์จึงควรให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ มากเป็นพิเศษครับ
ปัจจัยทางการเมืองมักจะส่งผลทางอ้อมต่อการขึ้นลงของค่าเงิน กล่าวคือ หากประเทศหนึ่งมีระบบการบริหารปกครองที่ไม่ดี ปิดกั้นการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ เกิดความตึงเครียดทางการเมืองอยู่เสมอ จะส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุนของนักลงทุน ความต้องการถือครองสกุลเงินนั้น ๆ ก็จะลดลงครับ ดังนั้น ปัจจัยทางการเมืองจึงเป็นอีกเรื่องที่นักลงทุนทุกท่านต้องให้ความสนใจครับ
นอกจากปัจจัยในข้างต้นแล้ว ยังมีปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดความผันผวนในชั่วขณะ เช่น สภาพอากาศ ฤดูกาล และเหตุการณ์ไม่คาดคิดอื่น ๆ ด้วยครับ ตัวอย่างเช่น สภาพอากาศที่เลวร้ายอาจสร้างภัยพิบัติให้แก่ประเทศนั้น ๆ หรือฤดูกาลที่ไม่เหมาะสมก็อาจทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง ผลผลิตลดลง ทำให้ต้องปลดพนักงาน เป็นต้น ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้มักจะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ ต่อไปครับ
อาจกล่าวได้ว่า ข้อมูลที่ทุกท่านควรนำมาวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานนั้น เป็นข้อมูลที่ส่งผลโดยตรงต่อการขยับขึ้นลงของค่าเงินครับ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ต้องอาศัยการติดตามข่าวสารเป็นประจำ อีกทั้ง ยังจำเป็นต้องใช้ทักษะและประสบการณ์ในการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ แต่อย่างไรก็ดี ไม่ใช่ว่าคุณจะต้องเชี่ยวชาญหรือเป็นถึงนักเศรษฐศาสตร์ เพราะความรู้เหล่านี้สามารถฝึกฝนและติตตามจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือได้ครับ ซึ่งหากสามารถวิเคราะห์ได้ คุณก็จะทราบแนวโน้มระยะยาวของคู่เงินนั้น ๆ และง่ายต่อการหาแนวรับแนวต้านต่อไปครับ
เนื่องจากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานใช้ตัวแปรเชิงคุณภาพและตัวแปรเชิงปริมาณอื่น ๆ มาประกอบการวิเคราะห์ จึงทำให้เกิดความเชื่อผิด ๆ อย่างมากมาย และนี่คือ 4 สิ่งที่คนมักจะ “เข้าใจผิด” เกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานมีไว้สำหรับนักเศรษฐศาสตร์เท่านั้น
ต้องใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญมาก
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานใช้เวลานาน
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานการันตีความสำเร็จ
ทำให้เข้าใจสภาวะของตลาด
ทราบปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาคู่เงิน
หากใช้ควบคู่กับการวิเคราะห์ทางเทคนิค จะทำให้สามารถคาดการณ์แนวโน้มระยะยาวได้
แนวคิดและการศึกษาบางอย่างของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน อาจขัดต่อการวิเคราะห์ทางเทคนิค ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสน
ต้องติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเศรษฐกิจของมหาอำนาจ และประเทศเจ้าของสกุลเงินอย่างสม่ำเสมอ
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานที่บ่งชี้ถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียวไม่ได้หมายความว่าตลาดจะดำเนินไปในทิศทางนั้นจริง ๆ เสมอไป
ต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์ที่สั่งสมมาพอสมควร
ต้องใช้เวลาในการศึกษา ติดตาม และวิเคราะห์พอสมควร
เทรดเดอร์ Forex สามารถใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้วยตัวแปรเชิงคุณภาพและตัวแปรเชิงปริมาณอื่น ๆ ในการคาดการณ์การเคลื่อนที่ของราคาคู่เงินหนึ่ง ๆ ในอนาคต เพื่อระบุแนวโน้มและหาสัญญาณการซื้อขายต่อไป
แต่อย่างไรก็ดี แม้จะอ้างอิงจากเหตุการณ์ในอดีต การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานก็ยังไม่สามารถการันตีความแม่นยำได้ 100% เพราะตัวแปรร่วมมีความแตกต่างกัน ส่งผลให้สถานการณ์แตกต่างกันไปด้วย ดังนั้น เทรดเดอร์จึงควรใช้วิจารณญาณประกอบกับการควบคุมความเสี่ยงที่ดีประกอบการเทรด Forex ด้วยครับ
ที่มา : Admiral Markets, Investopedia 1, Investopedia 2, Investopedia 3, Babypips, Economictimes, Thestreet, Forex.com
------------------------------------------------------------------------------
สามารถศึกษาความรู้เพิ่มเติมได้จากแหล่ง ดังต่อไปนี้
อ่านรีวิวโบรกเกอร์ยอดนิยมที่น่าใช้ : คลิกที่นี่
อ่านรีวิวโบรกเกอร์ที่ควรระวัง : คลิกที่นี่
อ่านบทความเพิ่มเติม : FXBROKERSCAM