ข่าวปฏิทิน Forex Factory มักมีข่าวที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการเคลื่อนไหวในตลาด Forex เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจและการเมืองสามารถเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว ในบทความนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับ 10 ข่าวสำคัญในปฏิทิน Forex Factory ว่ามีข่าวอะไรบ้างและส่งผลต่อตลาด Forex อย่างไร? ซึ่งจะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถวิเคราะห์และคาดการณ์แนวโน้มของราคาได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น รวมถึงสามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากข่าวที่มีความรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ
⚠️ คำเตือน! การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดเพื่อเป็นประโยชน์ของตัวท่านเอง และเพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อกลโกงของเหล่าโบรกเกอร์ครับ ⚠️ |
ข่าว Forex Factory คือ ข่าวสารและการวิเคราะห์เกี่ยวกับตลาด Forex (Foreign Exchange) ซึ่งถือเป็นแหล่งข่าวสำคัญสำหรับเทรดเดอร์ทั่วโลก โดยแพลตฟอร์ม Forex Facrory จะมีฟังก์ชันที่ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถติดตามข่าวสารเศรษฐกิจ, ตัวชี้วัดทางการเงิน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะส่งผลต่อตลาด Forex ได้อย่างสะดวกครับ
ข่าวสำคัญในปฏิทิน Forex Factory มีดังนี้
1. อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate)
2. อัตราการจ้างงานของสหรัฐฯ (Non Farm Payrolls)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
4. แถลงการณ์ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed Chair Powell Speaks)
5. ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP)
6. อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate)
7. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI)
8. ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI)
9. ดัชนียอดค้าปลีก (Retail Sales)
10. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI)
ข่าวอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate) คือ การประกาศอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ทางธนาคารกลางกำหนด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยมีผลต่อการเคลื่อนไหวของตลาด Forex เป็นอย่างมาก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นมักส่งผลให้สกุลเงินแข็งค่าขึ้น และในทางกลับกันอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงก็อาจจะส่งผลให้สกุลเงินอ่อนค่าลงเช่นกันครับ
โดยปกติแล้วการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.25% ก็สามารถกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินนั้น ๆ อย่างมาก ซึ่งจะเป็นโอกาสในการเข้าทำการซื้อขายของเทรดเดอร์ครับ
การตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยมักส่งผลต่อความเคลื่อนไหวในตลาด Forex รวมทั้งตลาดหุ้น, สินค้าโภคภัณฑ์ และอื่น ๆ โดยอัตราดอกเบี้ยเป็นตัวชี้วัดความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจหรือจุดอ่อนของประเทศ
เมื่อธนาคารกลางมีการประกาศเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย นักวิเคราะห์มักจะคาดการณ์แนวคิดของธนาคารกลางเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยที่จะเกิดขึ้น โดยการคาดการณ์จะอ้างอิงตามสถานการณ์ในปัจจุบันและแนวโน้มการดำเนินการในอนาคตครับ
เมื่อใดก็ตามที่ธนาคารกลางมีการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลให้ตลาดประสบกับการเปลี่ยนแปลงของราคาอย่างมาก ซึ่งเป็นโอกาสในการซื้อขายเพื่อทำกำไรสำหรับเทรดเดอร์ครับ
อัตราการจ้างงานของสหรัฐฯ (Non Farm Payrolls) หรือ NFP คือ รายงานการจ้างงานนอกภาคการเกษตร โดยไม่รวมการจ้างงานในภาคการเกษตร, ครัวเรือน และองค์กรไม่แสวงหากำไร ซึ่งตัวเลขดังกล่าวจะบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงของผู้ทำงานในสหรัฐอเมริกาในช่วงเดือนที่ผ่านมา และเป็นข้อมูลที่บ่งบอกถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งนับเป็นส่วนสำคัญของกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวม โดยตัวเลข NFP จะมีการประกาศในทุกวันศุกร์แรกของแต่ละเดือนครับ
NFP (Non-Farm Payroll) มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงิน เนื่องจากเป็นตัวบ่งชี้สุขภาพของตลาดแรงงานและสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต ว่ามีการขยายตัวหรือหดตัวของเศรษฐกิจจากตัวเลขที่เปลี่ยนในแต่ละเดือน ซึ่งจะหมายถึงการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้านั่นเองครับ
ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index ) หรือ CPI คือ ดัชนีราคาเฉลี่ยของผู้บริโภคที่จ่ายให้กับสินค้านั้น ๆ ในตลาด โดยจะดูจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ โดยการเปลี่ยนแปลงของราคาจะระบุแนวโน้มของภาวะเงินเฟ้อหรือเงินฝืด และบ่งบอกว่านโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดครับ
โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) มี 2 ประเภทดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (Headline CPI)
คือ ดัชนีราคารวมของสินค้าทุกหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์, บริการ และสินค้าอื่น ๆ ทั้งหมดครับ
2. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI)
คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับสินค้า, บริการ และสินค้าทั้งหมดในระบบเศรษฐกิจ หักสินค้าด้วยราคาเชื้อเพลิงและอาหารที่ผันผวนครับ
การที่ตัวเลข CPI สูงขึ้นอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งส่งผลกระทบที่ไม่ดีต่อเศรษฐกิจ เนื่องจากสะท้อนถึงการลดลงของกำลังซื้อของสกุลเงิน, ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดต่ำลง และการใช้จ่ายที่ลดน้อยลง ส่งผลให้ธุรกิจต้องลดการลงทุนและการจ้างงานตามมา ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวหรือถดถอย ในทางกลับกัน หากตัวเลข CPI ปรากฏเป็นลบ ก็อาจหมายถึงสัญญาณการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นได้เช่นกันครับ
แถลงการณ์ของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed Chair Powell Speaks) หรือ FED คือ การพูดคุยหรือแถลงข่าวที่สำคัญ ซึ่งมีอิทธิพลต่อทิศทางนโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ โดยทั่วไปประธาน FED จะพูดเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และแนวโน้มในอนาคต ซึ่งอาจส่งผลต่อการตัดสินใจในการปรับอัตราดอกเบี้ยในอนาคตครับ
การแถลงของประธาน FED มีผลต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐและตลาด Forex โดยตรง หากประธาน FED ส่งสัญญาณว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย สกุลเงินดอลลาร์จะมีความน่าสนใจมากขึ้น นักลงทุนอาจมีการซื้อสกุลเงินดอลลาร์ ส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากมีการแถลงที่ชี้ให้เห็นถึงการลดดอกเบี้ย อาจทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงนั่นเองครับ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Domestic Product) หรือ GDP คือ ตัวชี้วัดที่แสดงถึงมูลค่ารวมของสินค้าและบริการทั้งหมดที่ผลิตในประเทศภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยปกติจะคำนวณเป็นรายปี โดย GDP ของประเทศต่าง ๆ จะบ่งบอกถึงขนาดเศรษฐกิจและจุดแข็งของเศรษฐกิจประเทศนั้น ๆ ว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือลดลงครับ
เทรดเดอร์สามารถคาดการณ์แนวโน้มของเศรษฐกิจได้ ดังนี้
GDP ที่เพิ่มขึ้นสะท้อนถึงสุขภาพที่ดีของเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งเมื่อเศรษฐกิจเติบโต ย่อมสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุน จึงเกิดการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การจ้างงานขยายตัว เมื่อประชาชนมีงานทำก็จะมีการใช้จ่ายมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม หาก GDP ขยายตัวเกินไป อาจส่งผลให้เกิดอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น รัฐบาลและธนาคารกลางจึงต้องออกนโยบายเพื่อควบคุมเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง เพราะหากดอกเบี้ยสูงเกินไป อาจนำไปสู่การชะลอตัวของเศรษฐกิจ และส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพในตลาดการเงินได้
GDP สูงขึ้นส่งผลให้ USD มีแนวโน้มดีขึ้น คู่เงินที่มี USD อยู่ข้างหน้า ราคามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น เช่น USDJPY คู่เงินที่มี USD อยู่ข้างหลัง ราคามีแนวโน้มปรับตัวต่ำลง เช่น EURUSD |
เมื่อ GDP หดตัว สิ่งที่ตรงกันข้ามจะเกิดขึ้น ธุรกิจมีแนวโน้มลดจำนวนลง ทำให้โอกาสในการตกงานเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การใช้จ่ายรวมในระบบเศรษฐกิจลดลง ซึ่งนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจหดตัวหรือการเติบโตติดลบ หาก GDP ติดลบต่อเนื่องในระยะเวลา 2 ไตรมาส จะถูกมองว่าเป็นภาวะเศรษฐกิจถดถอย
GDP หดตัวส่งผลให้ USD มีแนวโน้มลดลง คู่เงินที่มี USD อยู่ข้างหน้า ราคามีแนวโน้มปรับตัวต่ำลง เช่น USDJPY คู่เงินที่มี USD อยู่ข้างหลัง ราคามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น เช่น EURUSD |
อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) คือ เปอร์เซ็นต์ของกำลังแรงงานที่ไม่มีงานทำและกำลังหางานอยู่ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญต่อเศรษฐกิจ โดยมีความสัมพันธ์ผกผันกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เมื่ออัตราการว่างงานต่ำ แสดงถึงความเข้มแข็งของเศรษฐกิจและการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การใช้จ่ายและการผลิตสูงขึ้น นอกจากนี้การว่างงานขึ้นอยู่กับความผันผวนตามฤดูกาล โดยทั่วไปแล้วอัตราการว่างงานจะสูงขึ้นในช่วงฤดูหนาว เพราะงานก่อสร้างและอาชีพกลางแจ้งอื่น ๆ จะมีความต้องการต่ำลง ข่าว Unemployment Rate จะประกาศออกมาในช่วงกลางคืนวันศุกร์แรกของทุก ๆ เดือน เวลาประมาณ 19.30 น. ของประเทศไทยครับ
ในตลาด Forex อัตราการว่างงานมีผลต่อการตัดสินใจของธนาคารกลางในการกำหนดนโยบายดอกเบี้ย หากอัตราการว่างงานสูง ธนาคารกลางอาจพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้ USD อ่อนค่าลง ในทางกลับกัน อัตราการว่างงานต่ำอาจทำให้ธนาคารกลางปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ส่งผลให้ค่าเงิน USD แข็งค่าขึ้น
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing Managers Index) หรือ PMI คือ ดัชนีที่ใช้วัดสุขภาพทางเศรษฐกิจของภาคการผลิตและบริการ โดยจะทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในธุรกิจต่าง ๆ ผ่าน 5 ตัวแปรหลัก คือ ยอดสั่งซื้อใหม่, ปริมาณสินค้าคงคลัง, สายการผลิต, การส่งสินค้าซัปพลาย และการจ้างงาน เพื่อประเมินสภาวะการผลิตและความต้องการสินค้า นอกจากนี้ ดัชนี PMI ยังเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญในการเติบโตหรือลดลงของ GDP และธนาคารกลางยังใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการกำหนดนโยบายการเงินอีกด้วยครับ
ดัชนี PMI แบ่งเป็น 2 ดัชนีหลัก ดังนี้
ดัชนี PMI สามารถส่งผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนในตลาด Forex เนื่องจากข้อมูล PMI ที่แข็งแกร่งอาจส่งผลให้ค่าเงินของประเทศนั้น ๆ แข็งค่าขึ้น รวมทั้งนักลงทุนสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์การวางแผนลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดัชนี PMI มีค่าอยู่ในช่วง 0-100 ซึ่งสามารถบ่งบอกแนวโน้มได้ ดังนี้
ดัชนีราคาผู้ผลิต (Producer Price Index) หรือ PPI คือ ดัชนีที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาของสินค้าหรือวัตถุดิบที่ผู้ผลิตจำหน่าย โดยทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการประเมินอัตราเงินเฟ้อในระดับผู้ผลิต ตัวเลขในดัชนี PPI ช่วยให้สามารถวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้น ๆ ได้อย่างชัดเจน ผ่านการปรับเปลี่ยนที่เกิดจากการปรับราคาสินค้า ต้นทุนการผลิต และความต้องการซื้อขาย ณ ขณะนั้น
ดัชนี PPI แบ่งเป็น 2 ดัชนีหลัก ดังนี้
PPI มีความสำคัญต่อการวิเคราะห์ตลาด Forex เพราะการเปลี่ยนแปลงของดัชนี PPI สามารถส่งสัญญาณถึงแนวโน้มของอัตราเงินเฟ้อ และอาจมีผลต่อการตัดสินใจของธนาคารกลางในการปรับอัตราดอกเบี้ย
ดัชนียอดค้าปลีก (Retail Sales) คือ ดัชนีที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าการขายทั้งหมดในระดับการค้าปลีก โดยถือเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญที่สุดสำหรับการประเมินการใช้จ่ายของผู้บริโภค เนื่องจากสามารถสะท้อนแนวโน้มทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน และคาดการณ์สภาพเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างแม่นยำ ดัชนียอดค้าปลีกนี้ยังเป็นส่วนสำคัญของกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวม นอกจากนี้ ดัชนียอดค้าปลีกที่ไม่รวมยอดขายรถยนต์จะถูกเรียกว่า "ดัชนียอดค้าปลีกพื้นฐาน" (Core Retail Sales) ซึ่งมีความสำคัญในการวิเคราะห์แนวโน้มการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่มีเสถียรภาพมากขึ้น
รายงานดัชนียอดค้าปลีก (Retail Sales) ช่วยให้นักวิเคราะห์และนักลงทุนสามารถคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจและแรงกดดันด้านเงินเฟ้อได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นหนึ่งในรายงานที่เป็นปัจจุบันที่สุด โดยข้อมูลที่นำเสนอมีอายุเพียงไม่กี่สัปดาห์
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index) หรือ CCI คือ ดัชนีที่วัดทัศนคติของผู้บริโภคต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในช่วง 3-6 เดือนข้างหน้า โดยประเมินความเชื่อมั่นในตลาดแรงงานและการใช้จ่ายในอนาคต ค่าดัชนีนี้มีความสัมพันธ์กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น อัตราการว่างงาน, อัตราเงินเฟ้อ, รายได้ และดัชนีชี้วัดผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) โดยดัชนีวัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (CCI) จะประกาศทุกวันอังคารสุดท้ายของเดือน ซึ่งเป็นการสำรวจข้อมูลในภาคครัวเรือนของเดือนปัจจุบัน
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค CCI ถือเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญในการวิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจและการเคลื่อนไหวของตลาด Forex
▶ Forex ย่อมาจาก Foreign Exchange หมายถึงตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
▶ ข่าวสำคัญในปฏิทิน Forex Factory มีดังนี้
1. อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate)
2. อัตราการจ้างงานของสหรัฐฯ (Non Farm Payrolls)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
4. แถลงการณ์ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed Chair Powell Speaks)
5. ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP)
6. อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate)
7. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI)
8. ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI)
9. ดัชนียอดค้าปลีก (Retail Sales)
10. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI)
ข่าวปฏิทิน Forex Factory เป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการติดตามสถานการณ์ในตลาด Forex โดยการเข้าใจวิธีการอ่านและวิเคราะห์ข่าว จะช่วยให้สามารถวางกลยุทธ์การเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การใช้ปฏิทินเศรษฐกิจยังช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเตรียมตัวรับมือกับเหตุการณ์สำคัญได้อย่างทันท่วงที เพราะในโลกของการเทรด Forex ข้อมูล คือพลังงานที่สำคัญและข่าว Forex Factory คือ แหล่งพลังงานที่จะช่วยขับเคลื่อนการตัดสินใจของคุณอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การลงทุนทุกอย่างย่อมมีความเสี่ยง ดังนั้น เราจึงอยากให้เพื่อน ๆ ทุกคนเตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกันด้วยนะครับ
--------------------------------------------------------
สามารถศึกษาความรู้เพิ่มเติมได้จากแหล่ง ดังต่อไปนี้
อัปเดตข่าวสารการลงทุนในตลาด Forex : คลิกที่นี่
อ่านรีวิวโบรกเกอร์ยอดนิยมที่น่าใช้ : คลิกที่นี่
อ่านรีวิวโบรกเกอร์ที่ควรระวัง : คลิกที่นี่
อ่านบทความเพิ่มเติม : FXBROKERSCAM