ในหลาย ๆ ครั้งที่เทรดเดอร์ทำการออกออเดอร์ และไม่ได้ราคาที่ต้องการนั้น เทรดเดอร์คงจะสงสัยว่า ทำไมถึงไม่ได้การซื้อขายในราคาที่เราต้องการ? นั่นก็เพราะว่า ในตลาดหุ้น หรือตลาด Forex มีสิ่งที่เรียกว่า "Slippage" อยู่ ซึ่งการเกิด Slippage นี้ ถือเป็นสิ่งเล็ก ๆ ที่เทรดเดอร์ไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้เทรดเดอร์มีโอกาสในการทำกำไรหรือขาดทุนได้ในเวลาเดียวกัน แท้จริงแล้ว Slippage คืออะไร? มีสาเหตุและมีประเภทอะไรบ้าง? รวมทั้งเทรดเดอร์ควรหลีกเลี่ยงในบทควาวมนี้จะพาทุกท่านไปหาคำตอบครับ
Slippage คือ ค่าความคลาดเคลื่อนระหว่างราคาในจุดที่ระบบเกิดสัญญาณซื้อขาย (Bid-Ask) กับราคาที่สามารถซื้อขายได้จริง ๆ โดยสาเหตุการเกิด Slippage อาจเกิดจากหลาย ๆ สาเหตุ เช่น สภาพคล่องของหุ้นที่ต่ำ, สภาวะตลาดที่ผิดปกติ หรือข่าวที่เป็นด้านบวกหรือด้านลบมาก ๆในระหว่างวัน จนทำให้ราคาเกิดการเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงได้
สาเหตุแรก คือ เทรดเดอร์ออกออเดอร์ในช่วงเวลาที่ตลาดมีความผันผวนของราคาสูง กล่าวคือช่วงเวลาก่อนข่าวที่สำคัญออกหรือช่วงเวลาหลังข่าวที่สำคัญออก เพราะช่วงเวลาเหล่านี้จะเกิดผลที่เป็นบวก หรือเป็นลบต่อคู่สกุลเงินเป็นอย่างมาก ทำให้ราคามีการเคลื่อนที่อย่างรุนแรง ทำให้ไม่ได้ราคาที่คาดหวังไว้ เช่น ข่าว Nonfarm Payroll ของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
สาเหตุที่สอง คือ เทรดเดอร์ออกออเดอร์ในช่วงเวลาที่ตลาดใกล้ปิดและเปิดทำการ เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวมักจะมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนที่ค่อนข้างน้อย และเป็นช่วงเวลาที่สภาพคล่องของตลาดค่อนข้างต่ำ (Low Market Liquidity) ทำให้เทรดเดอร์ทำการซื้อขายและไม่ได้ราคาที่คาดหวังไว้
ประเภทการเกิด Slippage สามารถเกิดขึ้นได้ 3 ประเภท ดังนี้
Slippage ในหน่วยเปอร์เซ็นต์ คือ การที่เทรดเดอร์ได้ซื้อขายจริงแพงหรือถูกกว่าสัญญาณซื้อขายในหน่วยเปอร์เซ็นต์ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเทรดเดอร์ซื้อ XAU/USD ได้แพงกว่าราคาที่ซื้อ 2% และขาย XAU/USD ได้ถูกกว่าสัญญาณขาย 2% แสดงให้เห็นว่า เกิด Slippage ในหน่วยราคา 4% ในการซื้อขายนี้
Slippage ในหน่วยผันผวน คือ การคำนวณค่าความผันผวนของส่วนต่างของราคาเปิด-ราคาสูงสุดในสัญญาณซื้อ และส่วนต่างระหว่างราคาเปิด-ราคาต่ำสุดในสัญญาณขาย ที่เกิดเป็นความผันผวนของ Slippage
Slippage ในหน่วยค่า Spread คือ ส่วนต่างระหว่างราคาซื้อขายจริงที่แพงหรือถูกกว่าสัญญาณซื้อขาย โดยปกติแล้วเทรดเดอร์มักเรียกว่า “ค่า Spread ถ่าง” นั่นเอง