List of content

ราคาน้ำมันยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดลดลงไปถึง 4% ในสัปดาห์นี้ (22 เมษายน 2565)


ราคาน้ำมันยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดลดลงไปถึง 4% ในสัปดาห์นี้ (22 เมษายน 2565)

จากสถานการณ์โลกที่ยังคงพลิกผันได้ตลอดเวลา ทำให้ตลาดเศรษฐกิจต่าง ๆ ก็ผันผวนตามไปด้วย ทั้งตลาดค่าเงิน ทองคำ บอนด์ รวมไปถึงตลาดน้ำมัน โดยตลาดน้ำมันได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โลกโดยตรง จากการสั่งห้ามนำเข้าน้ำมันของรัสเซีย หรือการปล่อยน้ำมันจากคลังสำรอง เพื่อลดราคาน้ำมันที่พุ่งทำสถิติอยู่

ในวันนี้ (22 เมษายน 2565) ราคาน้ำมันปรับตัวลดลง โดยลดลงเกือบ 4% ในสัปดาห์นี้ จากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด การเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกที่ยังคงอ่อนแอ และการล็อกดาวน์ในจีนจาก Covid-19 ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ แม้สหภาพยุโรปจะสั่งห้ามนำเข้าน้ำมันรัสเซียก็ตาม

โดยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า Brent ร่วงลง 1.08% สู่ 107.52 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (22 เมษายน 2565 เวลาไทย 8.30 น.)  ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้า West Texas Intermediate (WTI) ลดลง 0.7% สู่ 103.07 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยสัญญาเปรียบเทียบทั้งสองฉบับ มีแนวโน้มลดลงรายสัปดาห์ ประมาณ 3.7%

อย่างไรก็ดี ในสัปดาห์นี้นับเป็นสัปดาห์การค้าที่ผันผวนน้อยที่สุด นับตั้งแต่รัสเซียเปิดฉากรุกรานยูเครน เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นการจุดชนวนการคว่ำบาตร เพื่อตัดอุปทานน้ำมันของรัสเซีย และชักนำให้ประเทศต่าง ๆ ปล่อยน้ำมันจากคลังสำรองสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากสถานการณ์นี้ ส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อ และการเติบโตที่เศรษฐกิจที่ย่ำแย่นั้น กำลังส่งผลต่อการซื้อขายในช่วงครึ่งหลังของสัปดาห์ โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ได้ลดการคาดการณ์การเติบโตทั่วโลกลง เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ 

นาย ยี่ กัง ผู้ว่าการธนาคารกลางของจีน กล่าวว่า “เศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ในตอนนี้ยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากภายนอก และยังต้องเผชิญกับแรงกดดันจากการระบาดของ Covid-19”

นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าวถึงการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเชิงรุก เพื่อผลักดันให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น ส่งผลทำให้ราคาน้ำมันแพงขึ้น สำหรับผู้ซื้อที่ถือสกุลเงินอื่น

แต่ทั้งหมดเกิดขึ้นในตลาดที่กำลังตึงตัว ซึ่งอาจจะต้องเผชิญกับอุปทานที่สั้นลง หากสหภาพยุโรปเดินหน้าห้ามนำเข้าน้ำมันรัสเซีย

นักวิเคราะห์จาก ANZ Research ระบุในหมายเหตุว่า "สถานการณ์ที่เลวร้ายในยูเครน กำลังเพิ่มแรงกดดันให้สหภาพยุโรปคว่ำบาตรน้ำมันรัสเซีย"

อย่างไรก็ดี การรุกรานของรัสเซียก็ยังคงดุเดือดอย่างต่อเนื่อง จากภาวะเงินเฟ้อ และความกังวลของนักลงทุน ยังคงส่งผลต่อสภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้ นักลงทุนควรศึกษาแนวโน้มจากตลาดที่ผันผวนให้ดี ก่อนทำการลงทุน