เงินบาทช่วงนี้อ่อนค่าต่อเนื่อง ผันผวนตามคู่สกุลเงินดอลลาร์ อีกทั้ง ยังทำสถิติอ่อนค่าหนักสุดในรอบ 16 ปี แตะ 36.9 บาท/ดอลลาร์ เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา จากข่าวดังกล่าว ทุกคนรู้หรือไม่ว่า ค่าเงินที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลกระทบต่ออะไรบ้าง? วันนี้ เราจะพาไปดูผลกระทบที่เกิดจาก “ค่าเงินบาทอ่อนค่า” กันครับ
เงินอ่อนค่า คือ การที่อัตราแลกเปลี่ยน หรือค่าของเงินสกุลหนึ่งมีมูลค่าลดลง หากนำไปเทียบกับเงินสกุลอื่น เช่น เงินบาทไทย (THB) มีค่าลดลง หากนำไปเทียบหรือแลกเปลี่ยนเป็นดอลลาร์สหรัฐ (USD) ทำให้ต้องใช้เงินบาทมากขึ้นในการแลกเปลี่ยน เป็นต้น
สาเหตุที่ทำให้เงินอ่อนค่ามาจากหลายปัจจัย ทั้งอุปสงค์, อุปทาน, อัตราดอกเบี้ย, อัตราเงินเฟ้อ, การเติบโตทางเศรษฐกิจ ตลอดจนปัจจัยทางการเมือง ซึ่งในส่วนของเงินบาทไทย การอ่อนค่าครั้งล่าสุดมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้
1) ความผันผวนตามคู่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD)
2) นโยบายทางการเงินของธนาคารกลาง (เฟด) ที่ใช้สกัดเงินเฟ้อ
3) เงินสำรองระหว่างประเทศที่ลดลง เพราะถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือต้านแรงอ่อนค่าของเงินบาท เพื่อไม่ให้มูลค่าลดลงเร็วจนเกินไป
4) ราคาต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น จากเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศรัสเซีย-ยูเครน
5) อัตราเงินเฟ้อในไทยที่เพิ่มสูงขึ้น โดยขยายตัวถึง 7.1 % ในเดือนพฤษภาคม 2565 สูงสุดในรอบ 14 ปี
6) ความกังวลของนักลงทุนในเรื่องเศรษฐกิจที่อาจเข้าสู่ภาวะถดถอย
จากสาเหตุข้างต้น จะเห็นได้ว่า เงินบาทไทยได้รับอิทธิพลฝั่งอ่อนค่ามาจากสหรัฐฯ ค่อนข้างเยอะ อีกทั้งยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่หนุนให้เงินบาทอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง จนนำไปสู่การอ่อนค่าครั้งใหญ่ นับตั้งแต่ปี 2549
การที่เงินบาทอ่อนค่า จะมีผู้ที่ได้รับประโยชน์ ในขณะเดียวกันคนบางกลุ่มก็เสียประโยชน์ ดังนั้น เรามาดูกันดีกว่าว่า ใครได้-ใครเสียอย่างไรบ้าง?
- บริษัทที่มีรายได้และหนี้เงินกู้เป็นสกุลเงินดอลลาร์ เพราะจะทำให้ใช้เงินน้อยลงในการคืนเงิน
- บริษัทที่ทำธุรกิจส่งออกโดยอิงสกุลเงินดอลลาร์ และกลุ่มผู้ทำงานต่างประเทศ ทำให้สามารถนำรายได้มาแลกเป็นเงินบาทได้มากขึ้น
- กลุ่มผู้ทำธุรกิจท่องเที่ยว เพราะรายได้บางส่วนมาจากชาวต่างชาติ ทำให้แลกเป็นเงินบาทได้มากขึ้น
- บริษัทที่ทำธุรกิจนำเข้าโดยอิงสกุลเงินดอลลาร์ จะทำให้ต้นทุนในการนำเข้าสูงขึ้น
- นักลงทุน เนื่องจากการนำเข้าวัตถุดิบ อุปกรณ์ และสินค้าต่าง ๆ แพงขึ้น
- ผู้บริโภค เพราะราคาสินค้าและบริการที่นำเข้าจากต่างประเทศจะสูงขึ้น
- ผู้มีหนี้กับต่างประเทศ จะต้องใช้เงินบาทมากขึ้นในการชำระหนี้ ทำให้มีภาระเพิ่มมากขึ้น
หากต้องการลงทุนในช่วงเงินบาทอ่อนค่า นักลงทุนอาจจะต้อง “หลีกเลี่ยง” สินทรัพย์กลุ่มที่มีการนำเข้าจากต่างประเทศ หรือกลุ่มที่มีรายได้เป็นสกุลเงินดอลลาร์ อีกทั้ง นักลงทุนยังต้อง “เพิ่มความระมัดระวัง” ในการลงทุน เนื่องจากความเสี่ยงของตลาดที่เพิ่มสูงขึ้น โดยนักลงทุนอาจมองหาสินทรัพย์กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ หรืออาจไม่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินที่เปลี่ยนแปลงไป
นอกจากนี้ หากนักลงทุนมีการซื้อขายคู่สกุลเงิน ควรเพิ่มความระมัดระวังจากความเสี่ยงในด้านอัตราแลกเปลี่ยนด้วยการ “ใช้เครื่องมือและคำสั่งซื้อขายล่วงหน้า” ประกอบการตัดสินใจด้วยเช่นกัน เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากความผันผวนครับ
โดยรวมแล้ว เงินบาทอ่อนค่า คือ ค่าเงินของเราถูกลง ทำให้ต้องใช้เงินบาทมากขึ้นในการแลกเปลี่ยน ดังนั้น จึงส่งผลกระทบต่อธุรกิจ, ผู้กู้ยืมเงิน, นักลงทุน ตลอดจนผู้บริโภคภายในประเทศ เพราะฉะนั้น หากนักลงทุนต้องการลงทุนในช่วงนี้ ควรเพิ่มความระมัดระวัง หลีกเลี่ยงสินทรัพย์เสี่ยง ตลอดจนอาจใช้เครื่องมือประกอบการตัดสินใจ อย่างไรก็ดี อย่าลืมติดตามและบริหารพอร์ตการลงทุนอย่างสม่ำเสมอด้วยนะครับ
------------------------------------------------------------------------
สามารถศึกษาความรู้เพิ่มเติมได้จากแหล่ง ดังต่อไปนี้
อัพเดตข่าวสารการลงทุนในตลาดฟอเร็กซ์ : คลิกที่นี่
อ่านรีวิวโบรกเกอร์ยอดนิยมที่น่าใช้ : คลิกที่นี่
อ่านรีวิวโบรกเกอร์ที่ควรระวัง : คลิกที่นี่
อ่านบทความเพิ่มเติม : FXBROKERSCAM