List of content

ภาษี Forex 101: แนวทางการคำนวณภาษีและยื่นภาษีสำหรับเทรดเดอร์


ภาษี Forex คืออะไร

ภาษี Forex คืออะไร? ในยุคที่การเทรด Forex ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศไทย แต่หลายคนอาจยังสงสัยเรื่องการจัดการภาษี Forex จากรายได้ที่มาจากการเทรด Forex ว่า คำนวณอย่างไรและมีขั้นตอนการยื่นภาษีอย่างไร บทความนี้จะพาคุณทำความเข้าใจเรื่องภาษี Forex อย่างละเอียด ตั้งแต่วิธีการคำนวณ ประเภทของภาษีที่เกี่ยวข้อง ไปจนถึงขั้นตอนการยื่นภาษี Forex อย่างถูกต้องครับ

📮 สำหรับเทรดเดอร์ Forex มือใหม่ การเข้าใจเรื่องภาษีถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะนอกจากจะช่วยให้คุณปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้องแล้ว ยังช่วยให้คุณวางแผนการเงินและการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วยครับ

 

ภาษี Forex  คืออะไร?

อันดับแรกมาทำความรู้จักกับภาษีกันก่อนครับ ภาษี คือ เงินหรือสินทรัพย์ที่ถือเป็นความรับผิดชอบของประชาชน และประชาชนมีหน้าที่ที่จะต้องจ่ายเงินส่วนนี้ให้กับรัฐบาลตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ภาครัฐนำเงินส่วนนี้ไปพัฒนาประเทศต่อไป 

ดังนั้น หากกล่าวถึงภาษี Forex จะหมายถึง เงินที่คุณจะต้องจ่ายให้กับรัฐบาล โดยหักมาจากเงินได้ที่มาจากการเทรด Forex ครับ ซึ่งการเสียภาษีส่วนนี้ก็จะเสียตามอัตราภาษีเงินได้ทั่วไปเลยครับ

เกร็ดน่ารู้!

ความแตกต่างของค่าธรรมเนียมและภาษี: ค่าธรรมเนียม คือ เงินที่นักลงทุนจะจ่ายให้กับผู้ให้บริการโดยตรง เช่น ค่าธรรมเนียมการฝากถอน ค่าธรรมเนียมในการถือครองออเดอร์ เป็นต้น ส่วนภาษี คือ เงินที่รัฐบาลจะเรียกเก็บจากบุคคลหรือนิติบุคคล เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ

 

ทำความรู้จักประเภทของภาษี

ภาษีสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ตามลักษณะการจัดเก็บภาษีและผู้รับภาษี ดังนี้

 

รูปแบบภาษี

รูปแบบการจัดเก็บภาษี

ภาษีทางตรง

(Direct Tax)

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เรียกเก็บจากรายได้ของประชาชนธรรมดา

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

เรียกเก็บจากรายได้ของนิติบุคคล บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน

ภาษีทางอ้อม

(Indirect Tax)

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

เรียกเก็บจากผู้ขายสินค้าและบริการ

ภาษีธุรกิจเฉพาะ

เรียกเก็บจากกิจการหรือผู้ประกอบธุรกิจ

ภาษีทางตรง (Direct Tax)

ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลและนิติบุคคลโดยตรง เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, ภาษีมรดก, ภาษีทรัพย์สิน และภาษีนิติบุคคล 

ภาษีทางอ้อม (Indirect Tax)

ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่แฝงอยู่ในสินค้ารวมถึงบริการ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%), ภาษีสินค้านำเข้า, อากรแสตมป์ และภาษีสรรพสามิต เป็นต้น

ไขข้อสงสัยทำไมคนไทยต้องเสียภาษี?

ภาระหน้าที่ในการเสียภาษีเป็นเรื่องที่ประชาชนชาวไทยที่มีรายได้สุทธิมากกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดจะต้องดำเนินการอยู่แล้วครับ เพื่อให้รัฐบาลได้นำเงินส่วนนี้ไปสนับสนุนการพัฒนาประเทศและสังคมไทย เช่น การปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศ, การให้บริการด้านสาธารณะ, สนับสนุนการศึกษา รวมถึงการวิจัยและพัฒนา การเสียภาษีจึงถือเป็นเรื่องที่เราต้องรับผิดชอบต่อสังคมและถือเป็นอีกหนึ่งความรับผิดชอบที่ทุกคนต้องตระหนักและให้ความสำคัญครับ

เงินจากการเทรด Forex ถือเป็นเงินได้ประเภทใด?

เงินได้สามารถแบ่งออกได้หลายประเภทตามลักษณะรูปแบบที่ได้รับ โดยทั่วไปกรมสรรพากรของไทย ได้แบ่งประเภทของเงินได้ออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้

เงินได้ประเภทที่ 1: เงินได้จากการทำงานหรือการจ้างงาน

เงินได้ประเภทที่ 2: เงินได้จากงาน (เป็นครั้งคราว)

เงินได้ประเภทที่ 3: เงินได้จากลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร

เงินได้ประเภทที่ 4: เงินได้จากดอกเบี้ย เงินปันผลและส่วนแบ่งกำไร

เงินได้ประเภทที่ 5: เงินได้จากการเปิดให้เช่าทรัพย์สิน

เงินได้ประเภทที่ 6: เงินได้จากวิชาชีพ

เงินได้ประเภทที่ 7: เงินได้จากการรับเหมาก่อสร้าง

เงินได้ประเภทที่ 8: เงินได้จากการประกอบธุรกิจ

* อ้างอิงตามมาตรา 40 ตามประมวลกฎหมายรัษฎากร


ดังนั้น รายได้ที่ได้รับจากการเทรด Forex จะถือเป็นเงินได้ประเภทที่ (40)4 ครับ เพราะถือเป็นเงินได้ที่เกิดจากดอกเบี้ย เงินปันผล ส่วนแบ่งจากกำไร รวมถึงรายได้จากการลงทุน ที่ไม่ได้มาจากการประกอบธุรกิจหลักโดยตรง ทำให้กำไรที่ได้จากการเทรดจำเป็นจะต้องหักไปเสียภาษี Forex ตามประมวลรัษฎากรครับ

หากเทรดเดอร์ไม่เสียภาษี Forex จะเกิดอะไรขึ้น!

หากเทรดเดอร์ไม่เสียภาษีสำหรับการเทรด Forex จะส่งผลให้ถูกปรับและดำเนินคดีได้ครับ หรือหนักกว่านั้น อาจโดนภาษีย้อนหลังที่ทำให้ตัวคุณเองหมดเนื้อหมดตัวเลยก็ได้ การเสียภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมายและตรงต่อเวลาจึงเป็นสิ่งพึงกระทำ เพื่อผลดีต่อตัวคุณเองและสังคมครับ

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและวิธีการคำนวณภาษี Forex

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

การคำนวณภาษี Forex จากการเทรด

หากคุณมีเงินได้อยู่ในอัตราไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี และต้องการคำนวณภาษีที่จะต้องจ่ายจากการเทรด Forex คุณจะสามารถคำนวณภาษี Forex ได้ตามวิธีต่อไปนี้

วิธีคำนวณภาษี Forex

  • กำไรสุทธิ มาจากการนำกำไรทั้งหมด - ด้วยจำนวนเงินที่ขาดทุน

  • อัตราเสียภาษี มาจากจำนวนเงินได้ต่อปีที่คุณได้รับ ซึ่งจะเป็นอัตราตามขั้นบันได (ตามตารางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา)

ตัวอย่าง การคำนวณภาษี Forex

เทรดเดอร์เทรดได้กำไรรวม 30,000 บาท และพบว่า มีการขาดทุนรวมอยู่ที่ 7,200 บาท โดยที่เทรดเดอร์มีเงินได้ต่อปีอยู่ที่ 150,000 - 300,000 บาท จะสามารถคำนวณอัตราการเสียภาษีได้ ดังนี้

(30,000 - 7,200) x 5% = 1,140 บาท

 

 ดังนั้น เทรดเดอร์จะต้องเสียภาษี Forex สำหรับการเทรดอยู่ที่ 1,140 บาท

*หมายเหตุ กรณีที่อัตราเงินได้รวมของคุณต่ำกว่า 150,000 บาทต่อปี คุณจะได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย อย่างไรก็ดีแม้รายได้ของคุณจะยังไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี หากคุณมีรายได้เกิน 60,000 บาท คุณจำเป็นจะต้องยื่นภาษีอยู่ดีครับ

วิธียื่นภาษี Forex อย่างละเอียด

วิธียื่นภาษี Forex สามารถทำได้ไม่ยากหากคุณทำตามวิธีต่อไปนี้ครับ

ขั้นตอนที่ 1 รวบรวมเอกสารเกี่ยวกับรายได้

🔻สลิปเงินเดือน 

🔻เอกสารในการซื้อขาย Forex เช่น รายการเดินบัญชี รายการซื้อขายที่เทรดเดอร์ดำเนินการ

🔻เอกสารอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง เช่น ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย 

ขั้นตอนที่ 2 คำนวณกำไรขาดทุน

🔻คำนวณหากำไรจากการซื้อขาย Forex

🔻คำนวณจำนวนเงินที่ขาดทุนจากการซื้อขาย Forex

🔻นำยอดกำไรสุทธิที่หักลบจากจำนวนเงินที่ขาดทุนมาคำนวณมารวมกับรายได้ประเภทอื่น ๆ 

ขั้นตอนที่ 3 ยื่นภาษี

🔻เลือกแบบแสดงรายการภาษีที่ถูกต้องและตรงกับประเภทของรายได้

🔻กรอกข้อมูลให้ครบถ้วนและถูกต้อง

ขั้นตอนที่ 4 ชำระภาษีตามจำนวนที่กำหนด

ระยะเวลาในการยื่นภาษี Forex

สำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการจะยื่นภาษี Forex ให้ทันตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดนั้น จำเป็นต้องยื่นภาษีแบบ ภ.ง.ด90/91 โดยจะต้องยื่นภายในเดือน ม.ค. - มี.ค. ของรอบปีภาษีถัดไปครับ เช่น หากรายได้จากการเทรดของคุณอยู่ในช่วงปี 2567 คุณจะต้องทำการยื่นภาษีในช่วงเดือนที่กล่าวไปข้างต้นในปี 2568 นั่นเองครับ

กลัวคำนวณภาษีไม่ถูกทำอย่างไรดี?

เทรดเดอร์สามารถใช้ระบบคำนวณภาษีตามเว็บไซต์ของธนาคารพาณิชย์ หรือเว็บไซต์อื่น ๆ ทั่วไปได้เลยครับ หากคุณต้องการคำนวณภาษีสามารถคำนวณได้ที่ “คำนวณภาษี

 

ทริคไม่ลับวิธีลดหย่อนภาษีที่เทรดเดอร์ควรรู้!

การเสียภาษีไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดครับ เนื่องจากเทรดเดอร์สามารถยื่นขอลดหย่อนภาษี เพื่อลดหย่อนอัตราภาษีได้ โดยผมจะขออธิบายกลุ่มการลดหย่อนภาษี ดังนี้

ค่าลดหย่อนกลุ่มส่วนบุคคลและครอบครัว

- ค่าลดหย่อนส่วนตัว: จำนวน 60,000 บาท 

- ค่าลดหย่อนคู่สมรส: จำนวน 60,000 บาท ต้องจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย (คู่สมรสจะต้องไม่มีรายได้)

- ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร: ไม่เกินครรภ์ละ 60,000 บาท

- ค่าลดหย่อนภาษีบุตร: คนละ 30,000 บาท โดยจะต้องเป็นบุตรโดยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว 

- ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและของคู่สมรส: จำนวนคนละ 30,000 บาท (ไม่เกิน 4 คน)

- ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพพลภาพ: จำนวนคนละ 60,000 บาท (ผู้พิการต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี)

ค่าลดหย่อนกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน

- เงินประกันสังคม: ไม่เกิน 9,000 บาท

- เบี้ยประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์: ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

- เบี้ยประกันสุขภาพ และเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ: ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท

- กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG): ลดหย่อนภาษีได้ 30% สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท 

- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF : Retirement Mutual Fund): ลดหย่อนภาษีได้ 30% สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

- กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF : Super Saving Funds): สามารถนำมาลดหย่อนได้ 30% 

- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน: สามารถนำมาลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

- กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.): ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

- กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.): ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท

- เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ: สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 15% สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

ค่าลดหย่อนกลุ่มเงินบริจาค

- เงินบริจาคทั่วไป: ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี

- เงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา การพัฒนาสังคม ประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ: สามารถนำมาลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาค สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี

- เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง: นำมาลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

[template]

บทความที่เกี่ยวข้อง

ไขทุกข้อสงสัย Forex ในไทยเสี่ยงจริงไหม?

นักลงทุนต้องรู้ ! GDP คืออะไร ส่งผลอย่างไรต่อตลาด Forex?

Price Pattern คืออะไร? 10 รูปแบบที่พบได้บ่อยในตลาด Forex

เจาะลึก! ความรู้พื้นฐาน Forex ฉบับเข้าใจง่าย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับภาษี Forex

นักเทรดต้องเสียภาษีไหม?

 ➢ นักเทรดต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามกฎหมายครับ โดยจะมีวิธีในการคำนวณภาษีแบบขั้นบันไดตามอัตราเงินได้ของนักเทรดครับ

เทรดฟิวเจอร์เสียภาษีไหม?

 ➢ กรณีที่เป็นบุคคลทั่วไปการเทรดฟิวเจอร์จะได้รับการยกเว้นเรื่องภาษีครับ แต่ถ้าหากเป็นกรณีของนิติบุคคล จะมีการคิดภาษีจากส่วนต่างของราคาการซื้อขายครับ

CFD เสียภาษีไหม?

 ➢ การลงทุน CFD ไม่ต้องเสียภาษี เนื่องจากเทรดเดอร์ไม่ได้ถือครองสินทรัพย์ที่ CFD อ้างอิงโดยตรง แต่กำไรที่เทรดเดอร์ได้รับจากการซื้อขายที่มาจากส่วนต่างของราคา จะต้องนำมาคำนวณภาษีครับ

สรุปภาษี Forex คืออะไร

แม้ปัจจุบันการเทรด Forex จะยังไม่ถูกกฎหมายในประเทศไทย แต่กำไรที่ได้รับจากการเทรด Forex เทรดเดอร์จำเป็น จะต้องยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามอัตราที่กฎหมายกำหนดครับ เพราะการเทรด Forex ถือเป็นกิจกรรมที่สร้างรายได้ ทำให้กำไรจากการเทรด Forex จำเป็นต้องเสียภาษีเหมือนกับรายได้รูปแบบอื่น ๆ 

นอกจากนี้คุณสามารถวางแผนลดหย่อนภาษีได้ เพื่อลดภาระภาษีที่คุณต้องจ่าย หากคุณเป็นเทรดเดอร์ที่มีรายได้จากการเทรด Forex ก็อย่าลืมที่จะวางแผนชำระภาษี เพื่อประโยชน์ต่อตัวคุณเองในระยะยาวนะครับ

--------------------------------------------------------

สามารถศึกษาความรู้เพิ่มเติมได้จากแหล่ง ดังต่อไปนี้

อัปเดตข่าวสารการลงทุนในตลาด Forex : คลิกที่นี่

อ่านรีวิวโบรกเกอร์ยอดนิยมที่น่าใช้ : คลิกที่นี่

อ่านรีวิวโบรกเกอร์ที่ควรระวัง : คลิกที่นี่

อ่านบทความเพิ่มเติม : FXBROKERSCAM

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Finnomena