List of content

ความเสี่ยงในการลงทุนมีอะไรบ้าง? นักลงทุนมือใหม่ควรรู้!


ความเสี่ยงในการลงทุนมีอะไรบ้าง? นักลงทุนมือใหม่ควรรู้!

ความเสี่ยงในการลงทุนถือเป็นหนึ่งในด่านสำคัญที่จะประเมินได้ว่า คุณสามารถประสบความสำเร็จในการลงทุนได้หรือไม่? ดังนั้นแล้ว ในบทความนี้ทีมงาน FXbrokerscam จะพาทุกคนมารู้จักกับความเสี่ยงในการลงทุนว่ามีอะไรบ้าง? เพื่อให้นักลงทุนมือใหม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น

 

ความเสี่ยงในการลงทุน คืออะไร ?

 

ความเสี่ยงในการลงทุน คืออะไร

ความเสี่ยงในการลงทุน คือ เราอาจจะไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดหวังไว้ ซึ่งทุก ๆ การลงทุนล้วนมีความเสี่ยงด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้น สิ่งสำคัญที่นักลงทุนควรคำนึงถึงเสมอนั่นก็คือ ความเสี่ยงและการลงทุนเป็นของคู่กัน หลาย ๆ ครั้งที่เราเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง ก็มักจะคาดหวังว่าจะได้รับผลตอบแทนสูงตามไปด้วย แต่อย่าลืมว่าความเสี่ยงสูงก็นำมาซึ่งโอกาสในการขาดทุนสูงด้วยเช่นกัน เพราะการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงไม่ได้การันตีว่าคุณจะได้รับผลตอบแทนสูงเสมอไปครับ

 

ทำไมความเสี่ยงในการลงทุนถึงสำคัญ ?

ความเสี่ยงในการลงทุนถือได้ว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับนักลงทุน เพราะความเสี่ยงในการลงทุนจะช่วยให้นักลงทุนสามารถคาดการณ์ผลตอบแทนในอนาคตได้ว่า เงินที่นำไปลงทุนนั้นจะได้รับผลตอบแทนกลับมาหรือไม่? อีกทั้งยังช่วยเพิ่มโอกาสให้นักลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทนได้อีกด้วย หากนักลงทุนสามารถประเมินความเสี่ยงที่พวกเขานั้นยอมรับได้และสามารถปรับปรุงแผนการลงทุนได้อย่างทันท่วงที

 

ข้อสังเกต❗ ความเสี่ยงในการลงทุนมีหลายระดับ หากการลงทุนที่ได้รับผลตอบแทนสูง ความเสี่ยงก็จะสูงตามไปด้วยนั่นเอง

 

 

ความเสี่ยงในการลงทุน ประกอบด้วยอะไรบ้าง ?

ความเสี่ยงในการลงทุนนั้น สามารถแยกออกได้เป็นหลายประเภท ซึ่งในบทความนี้ทีมงาน Fxbrokerscam จะพาทุกคนมารู้จักกับความเสี่ยงในการลงทุน 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ความเสี่ยงด้านความผันผวน (Volatility Risk) และความเสี่ยงด้านความขาดแคลน (Shortfall Risk)

 

ความเสี่ยงด้านความผันผวน (Volatility Risk) คืออะไร ?

 

ความเสี่ยงด้านความผันผวน (Volatility Risk) คือ

ความเสี่ยงด้านความผันผวน (Volatility Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากความผันผวนของราคาสินทรัพย์ ซึ่งปกติแล้ว ความผันผวนนั้นเป็นมาตรฐานสำหรับการวัดความเสี่ยงโดยมาตรฐานของตลาดการเงิน นักลงทุนสามารถแยกระดับความผันผวนออกเป็น 3 ระดับ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

  • น้อยกว่า 20% หมายความว่า ระดับความผันผวนต่ำ ซึ่งความผันผวนระดับนี้จะเป็นสัญญาณให้นักลงทุนขายสินทรัพย์ เพราะมีความเป็นไปได้ที่สินทรัพย์จะมีการกลับตัวและเคลื่อนไหวในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับราคา ณ ขณะนั้น
  • 20%-30% หมายความว่า ระดับความผันผวนปานกลาง ซึ่งความผันผวนระดับนี้ไม่สามารถส่งสัญญาณให้นักลงทุนดำเนินการซื้อขายสินทรัพย์ได้ 
  • 40% ขึ้นไป หมายความว่า ระดับความผันผวนสูง ซึ่งความผันผวนในระดับนี้ เป็นสัญญาณที่ดีสำหรับนักลงทุนในการค้นหาจุดเริ่มต้นในตลาด เพราะเมื่อความผันผวนเริ่มลดลง ราคาของสินทรัพย์จะสูงขึ้น ทำให้เป็นเวลาที่ดีสำหรับนักลงทุนในการเข้าซื้อสินทรัพย์

โดยส่วนใหญ่ระดับความผันผวนที่กล่าวไปข้างต้น นักลงทุนจะนิยมใช้ในการวิเคราะห์ตลาด Forex, Cryptocurrency, CFDs และตลาดหุ้น เพราะตลาดเหล่านี้มีการซื้อขายเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน ทำให้ตลาดมีความผันผวนสูงนั่นเอง

ประเภทของความผันผวนมีกี่ประเภท ? 

ประเภทของความผันผวน (Volatility Risk) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 

1. ความผันผวนในอดีต 

ความผันผวนในอดีต คือ ตัวชี้วัดทางสถิติของผลตอบแทนราคาสินทรัพย์ในอดีต ซึ่งจะวัดจากข้อมูลราคาสินทรัพย์ย้อนหลังในอดีตที่ผ่านมา จากนั้นจะนำมาคำนวณเป็นส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ยิ่งส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสูงมากเท่าไหร่ จะแสดงให้เห็นว่า ความผันผวนจะสูงตามไปด้วย

2. ความผันผวนโดยนัย

ความผันผวนโดยนัย คือ ตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินทรัพย์ในอดีต เพื่อคาดการณ์ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผันผวนมีอะไรบ้าง ?

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผันผวนสามารถแบ่งออกเป็น 3 ปัจจัย โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 

  • อุปสงค์และอุปทาน กล่าวคือ หากมีความต้องการในการซื้อขายที่มากขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจะส่งผลให้ตลาดเกิดความผันผวนสูงขึ้น
  • ข่าวสารสำคัญ กล่าวคือ ข่าวสารสำคัญจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการซื้อขายสินทรัพย์เป็นอย่างมาก เนื่องจากนักลงทุนจะอาศัยการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานที่เกิดขึ้น อย่างข่าวทางเศรษฐกิจ, การเมือง และสภาพภูมิศาสตร์ เพื่อประเมินการซื้อขายสินทรัพย์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น จึงส่งผลให้ตลาดเกิดความผันผวนนั่นเอง
  • อารมณ์ กล่าวคือ อารมณ์ของนักลงทุนก็ส่งผลต่อการเกิดความผันผวนได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากความตื่นตระหนกมักจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของราคาสินทรัพย์อย่างรุนแรง ซึ่งปกติแล้ว อารมณ์ของนักลงทุนรายใหญ่จะส่งผลกระทบรุนแรงกว่านักลงทุนรายย่อย

 

ความเสี่ยงด้านความขาดแคลน (Shortfall Risk)

ความเสี่ยงด้านความขาดแคลน (Shortfall Risk) คือ ความเสี่ยงที่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงินที่ตั้งไว้ ยกตัวอย่างเช่น ในอีก 10 ปีข้างหน้า เราวางแผนการลงทุนตอนเกษียณไว้ที่ 1,000,000 บาท แต่เมื่อถึงวันนั้นกลับมีเงินไม่เพียงพอ ซึ่งความเสี่ยงนี้เรียกว่า ความเสี่ยงด้านขาดแคลนนั่นเอง โดยความเสี่ยงขาดแคลนสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการเงิน, ความไม่มั่นคงทางรายได้, การลงทุน และความเสี่ยงจากค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิด เป็นต้น 

ประเภทของความเสี่ยงด้านขาดแคลนมีกี่ประเภท ? 

ประเภทความเสี่ยงด้านความขาดแคลนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. ความขาดแคลนชั่วคราว 

ความขาดแคลนชั่วคราว คือ ความเสี่ยงในระยะสั้น เป็นความเสี่ยงที่ได้จากความผิดพลาดในการประเมินค่าใช้จ่ายรายเดือนหรือการลงทุนในระยะเวลา 1 ปี ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ยกตัวอย่างเช่น ความผันผวนในตลาด Cryptocurrency ที่ทำให้ได้ผลตอบแทนไม่สม่ำเสมอ เมื่อเกิดการเทขายของนักลงทุนรายใหญ่ หรือการลดลงของรายได้กะทันหัน ทำให้ในเดือนนั้นได้รายรับไม่เพียงพอ เป็นต้น

2. ความขาดแคลนระยะยาว 

ความขาดแคลนระยะยาว คือ ความเสี่ยงในระยะยาวที่เกิดขึ้นจากการวางแผนการลงทุนที่ไม่สม่ำเสมอ ทำให้ผลตอบแทนที่วางแผนไว้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงด้านความขาดแคลนมีอะไรบ้าง ?

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงด้านความขาดแคลนสามารถแบ่งออกเป็น 3 ปัจจัย ดังต่อไปนี้

  • การวางแผนการเงิน กล่าวคือ การวางแผนการเงินไม่สม่ำเสมอ ทำให้เงินเก็บในยามฉุกเฉินไม่เพียงพอ
  • ปัจจัยเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการลงทุน, ชีวิตความเป็นอยู่, การประกอบอาชีพ รวมทั้งการดูแลรักษาสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านความขาดแคลนได้
  • ตลาดเกิดความผันผวน อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าการลงทุน จนส่งผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทน

 

การลดความเสี่ยงในการลงทุนทำได้อย่างไร ?

การลดความเสี่ยงในการลงทุน

การลดความเสี่ยงในการลงทุนสามารถทำได้ 3 วิธี ดังนี้

1. กระจายการลงทุน 

กระจายการลงทุนไปในหลาย ๆ สินทรัพย์ เพื่อช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุนได้อย่างเหมาะสม เมื่อตลาดเกิดความผันผวนอย่างรุนแรง

2. เน้นลงทุนในระยะยาว

การลงทุนในระยะยาวจะช่วยให้นักลงทุนสามารถลดอาการตื่นตระหนกไปกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดได้ อีกทั้งยังช่วยให้คุณไม่ต้องนั่งเฝ้าตลาดตลอดเวลา นอกจากนี้ การถัวเฉลี่ยการลงทุนในระยะยาวจะช่วยให้คุณสามารถสร้างวินัยในการลงทุนและเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีได้อีกด้วย

3. ประเมินความเสี่ยงที่ยอมรับได้

ประเมินความเสี่ยงที่ยอมรับได้จะช่วยให้นักลงทุนสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงและผลตอบแทนได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นแล้ว นักลงทุนควรศึกษาและทำความเข้าใจสินทรัพย์ในแต่ละประเภท ก่อนตัดสินใจลงทุน เพื่อสามารถประเมินความเสี่ยงที่ยอมรับได้

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุน

Q. ความเสี่ยงในการลงทุน คืออะไร ?

ความเสี่ยงในการลงทุน คือ ความไม่แน่นอนที่เราอาจจะไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดหวังไว้

Q. การลงทุนมีความเสี่ยงมีอะไรบ้าง?

การลงทุนสามารถแบ่งความเสี่ยงออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. ความเสี่ยงด้านความผันผวน และ 2. ความเสี่ยงด้านความขาดแคลน

Q. การลดความเสี่ยงในการลงทุน มีอะไรบ้าง? 

  • กระจายการลงทุน 
  • เน้นลงทุนในระยะยาว
  • ประเมินความเสี่ยงที่ยอมรับได้

 

สรุป

จากที่กล่าวไปข้างต้น สรุปได้ว่า ความเสี่ยงในการลงทุนมีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับนักลงทุนมือใหม่และนักลงทุนที่มีประสบการณ์ เนื่องจากความเสี่ยงในการลงทุนมักจะมาพร้อมกับโอกาสในการสร้างผลตอบแทนให้คุณ ดังนั้นแล้ว ก่อนการลงทุนทุกครั้ง นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนให้ละเอียดและรอบคอบ เพื่อประเมินความเสี่ยงและผลตอบแทนที่คุณได้รับว่า มีความเหมาะสมตามระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้หรือไม่?

 

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

5 กลยุทธ์วางแผนการลงทุน เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง!

Money Management (MM) คืออะไร? ทำไมเทรดเดอร์ถึงควรบริหารจัดการเงินทุนให้ถูกวิธี

DCA คืออะไร? มีกลยุทธ์ที่สำคัญอย่างไรต่อนักลงทุน

 

------------------------------------------------------------------------

สามารถศึกษาความรู้เพิ่มเติมได้จากแหล่ง ดังต่อไปนี้

อัพเดตข่าวสารการลงทุนในตลาดฟอเร็กซ์ : คลิกที่นี่

อ่านรีวิวโบรกเกอร์ยอดนิยมที่น่าใช้ : คลิกที่นี่

อ่านรีวิวโบรกเกอร์ที่ควรระวัง : คลิกที่นี่

อ่านบทความเพิ่มเติม : FXBROKERSCAM